การแต่งคำประพันธ์ประเภทต่างๆ

สวัสดีค่ะ หน้านี้ครูจะให้ความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้คำ ในการแต่งคำประพันธ์ ประกอบด้วย

สารบัญเนื้อหา
คำสัมผัสคล้องจอง คำสัมผัสนอก สัมผัสใน
 คำสัมผัสสระ คำสัมผัสอักษร คำเสียงสูง (จัตวา) ลงท้ายวรรครับของกลอน
 คำไวพจน์ คำเอก คำโท คำเอกโท ในโคลงสี่สุภาพ
คำคู่ ในการแต่งกาพย์ฉบัง 16    

           ประเภทของคำประพันธ์ หรือ ร้อยกรองของไทย ตัวอย่างโคลงสี่สุภาพ

กาพย์ยานี11ร้อยกรอง

คำสัมผัสคล้องจอง
หมายถึง พยางค์ที่คล้องจองด้วยเสียงของสระหรือเสียงของพยัญชนะ
หากคล้องจองด้วยเสียงสระเรียกว่า สัมผัสสระ 
หากคล้องจองด้วยเสียงพยัญชนะเรียกว่า สัมผัสอักษร
ตัวอย่างเสียงสัมผัสสระ

เสียงไอ
เสียงอาย
เสียงเอือ
เสียงอู
เสียง เอ
เสียง อา
เสียง เอา
เสียง อี
เสียง อำ
เสียง เอาะ
เสียง อัน
เสียง อาน
เสียง เอิน
เสียง อิน
เสียง ออน
เสียง อม
เสียง ออง
เสียง อัง
เสียง แอง
เสียง อิง
เสียง อาว
เสียง ออย
ฯลฯ

ด้แก่ ได้ ไม่ ใส่ ไหน ไทย ไร้ ให้ ไป ไต ไว้ ใบ ใย ฯลฯ
ได้แก่ ขาย ย้าย ตาย หลาย คล้าย หน่าย ทราย พราย หาย ยาย ฯลฯ
ได้แก่ เรือ เหลือ เชื่อ เหงื่อ เบื่อ เถือ มะเขือ เพรื่อ เนื้อ ฯลฯ
ู ได้แก่ งู ชู้ ผู้ หนู หู ชู อู้ หมู ฯลฯ
ได้แก่ เท เก ทะเล เร่ เห จระเข้ ฯลฯ
ได้แก่ ตา จ้า ลา ป่า ถ้า น้า ข้า ช้า ระย้า จ๋า สา หา ฯลฯ
ได้แก่ เขา เขลา เยาว์ เศร้า เบา เช้า เฝ้า เร้า เสา ฯลฯ
ได้แก่ ระวี สี ปี ชี้ หนี พี่ ขจี วลี วจี
ได้แก่ ย้ำ ช้ำ ขำ ตำ รำ ฉ่ำ กล้ำ พร่ำ ยำ ทำ ธรรม ฯลฯ
ได้แก่ เฉาะ เงาะ เหมาะ เสนาะ เลาะ เหาะ หัวเราะ ฯลฯ
เสียง อัน ได้แก่ สัน (สรรค์ สรร ศัลย์) อัน มัน ขัน นั้น ชั้น กลั่น พรั่น ฯลฯ
เสียง อาน ได้แก่ กาน บ้าน อ่าน สาร จาน ขาน ชาญ ผ่าน ท่าน ร้าน ฯลฯ
เสียง เอิน ได้แก่ เดิน เขิน เมิน เพลิน เชิญ เผอิญ เนิ่น ฯลฯ
เสียง อิน ได้แก่ สิน ถิ่น สิ้น ชิ้น หิน ดิน ลิ้น ยิน กลิ่น ปิ่น ฯลฯ
เสียง ออน ได้แก่ ขอน สอน (ศร) อ้อน ย้อน หม่อน นอน ร้อน ช้อน หนอน
เสียง อม ได้แก่ ขม ลม ชม ส้ม ห่ม ผม ต้ม ตรม กลม ขนม ฯลฯ
เสียง ออง ได้แก่ น้อง จอง ของ ร้อง ฟอง ท่อง ผ่อง กลอง ต้อง ฯลฯ
เสียงอัง ได้แก่ นั่ง ขัง ยัง พลั้ง สั่ง ดัง ตั้ง ฯลฯ
เสียง แอง ได้แก่ แสง แรง แล้ง แห้ง แจ้ง แต่ง แกง แพง แผง แหนง แว้ง
เสียง อิง ได้แก่ จริง หญิง พริ้ง ทิ้ง กลิ้ง วิ่ง อิ่ง ชิง ติง ฯลฯ
เสียง อาว ได้แก่ สาว พราว หนาว หาว ว่าว ข้าว จ้าว ผ่าว คาว ฯลฯ
เสียง ออย ได้แก่ สอย น้อย ห้อย ย้อย ต่อย สร้อย ค่อย ฯลฯ
 
เสียงสัมผัสอักษร

เสียง ค
เสียง ก
เสียง ร
เสียง ล
เสียง น
เสียง ท
เสียง พ
เสียง จ

เสียง ด

ฯลฯ

ด้แก่ คุณ ควร คิด ครวญ คำ คล้าย เคียง คลอง ข้าง ขอบ คู ฯลฯ
ได้ แก่ กล กานต์ เกรียง ไกร ก้อง เก่ง กาจ แก้ว โกรธ ฯลฯ
ได้แก่ ร้อย รัก เรียง รัด รอบ ฯลฯ
ได้แก่ ลม ลอย โล่ง ลา ลับ แล้ว ฯลฯ
ได้แก่ น้อง หน่าย แหนง นิด หน่อย นะ ฯลฯ
ได้แก่ ทอ ถัก แท้ เทียม ทอง ทา ฯลฯ
ได้แก่ พร พหรม พัด พา พร่าง พราว แพร้ว ผอม ผ่อง พรรณ ฯลฯ
ได้แก่ จวบ จวน แจ่ม แจ้ง จัด เจน จัก เจียน จ้อง จู่ โจม
ได้แก่ เดิน ดุ่ม เดี่ยว เดียว ดาย ดอก ดวง แด แดด ดั่ง ดุจ ฯลฯ
สัมผัสนอก สัมผัสใน
สัมผัสนอก คือสัมผัสนอกวรรคและนอกบท หรือระหว่างวรรคและระหว่างบท
เป็นสัมผัสบังคับด้วยเสียงสระ เมื่อไรที่พูดถึงสัมผัสนอกก็คือสัมผัสบังคับนั่นเอง
สัมผัสสระเป็นอย่างไรโปรดอ่านทบทวนจากข้อความด้านบน
ตัวอย่างสัมผัสนอกของกลอนสุภาพโปรดสังเกตสีอักษร
     ดอกสร้อยฟ้าเลื้อยเลาะเกาะไม้ใหญ่ ม่วงไสวกระจายคล้ายรัศมี
ยามลมโชยโปรยกลิ่นแสนยินดี คือมาลีงดงามนามสร้อยฟ้า
สร้อยมาลีในป่าน่าเพาะเลี้ยง ไว้คู่เคียงข้างบ้านม่านพฤกษา
ส่งกลิ่นหอมพร้อมกันเดือนธันวาฯ สร้อยมาลีหลากค่าน่านิยม

ครูภาทิพ



สัมผัสในคือสัมผัสในวรรคเดียวกัน ซึ่งมีทั้งสัมผัสสระ และสัมผัสอักษร เป็นสัมผัสที่มีเพื่อความไพเราะ
สุนทรภู่บรมครูด้านการแต่งกลอน เป็นผู้ริเริ่มนำสัมผัสในมาเล่นในการแต่งกลอน
สัมผัสสระและอักษรต่างกันอย่างไร โปรดอ่านข้อความด้านบน

ตัวอย่างการเล่นสัมผัสในของกลอนสุภาพซึ่งมีทั้งสัมผัสสระและสัมผัสอักษร

ตัวอย่างการเล่นสัมผัสใน

ดอกสร้อยอินทนิล

      สร้อยอินทนิลถิ่นอยู่คู่เคียงป่า ดอกสีฟ้าเข้มอ่อนอ้อนออกช่อ
เป็นระย้าเรียงย้อยห้อยเคลียคลอ ดุจจะล้อโลมดินถิ่นแอบเคียง
อิน-นิล-ถิ่น / อยู่-คู่ เป็นสัมผัสสระ คู่-เคียง เป็นสัมผัสอักษร
ย้อย-ห้อย / ดิน-ถิ่นเป็นสัมผัสสระ อ่อน -อ้อน-ออก เป็นสัมผัสอักษร
ย้า -ย้อย /เคลีย-คลอ เป็นสัมผัสอักษร ล้อ-โลม เป็นสัมผัสอักษร

 

         คำเสียงสูง (จัตวา) เหมาะเป็นคำท้ายสุดของวรรครับของกลอนสุภาพ

         กงสี ฉวี บัดสี บายสี ปักษี ผี ฝี ทาสี ภาษี มารศรี ราศรี ราชสีห์ วิถี ศักดิ์ศรี
         สักขี สลับสี สารถี สี หนี หมี หวี หัตถี อิตถี โกสีห์
         กสิณ กระถิน โกสินทร์ ติฉิน ถวิล ผิน เบญจศีล ศิลป สิน สินธุ์ หิน
         ฉิว ผิว แล่นฉิว วาบหวิว สยิว หิว
         ขิม ถนิม สนิม หยิม
         ขิง ผิง สิง สิงห์ สมิง สวิง หญิง
         กระโดดผึง ขึง คิดถึง ถึง ถลึง หึง สึง สลึง
         ขัดขืน ผืน ฝืน เหม็นหืน
         กระสือ ถือ นับถือ หนังสือ หรือ หวือ ปรื๋อ หือ
         กระหัง กุฎฐัง ขัง ขมัง ขลัง ขึงขัง แตรสังข์ ปลูกฝัง ผัง ฝัง เลหลัง หนัง หลัง
         กังไส ไข แขไข เงื่อนไข ไฉน ไถ ไถง ไถล ผลักไส ไฝ ไศล ใส ไสว สุกใส
         สาไถย เสือกใส ไหน ไหว ไหม หลงใหล สลบไสล
         กระษัย กษัย ตักษัย นิสัย ปราศรัย พิสมัย วิสัย สมัย อดิสัย อาศัย
         กล้าหาญ แก่นสาร ขนาน ขวาน ขาน ขาล ข่าวสาร ข้าวสาร ดิรัจฉาน แตกฉาน
         ทวยหาญ ทหาร ธัญญาหาร บรรหาร ประสาน ประหาร ปาฏิหาริย์ ผลาญ ผลาหาญ
         ผสาน พัสถาน ไพศาล รสหวาน รโหฐาน ร้าวฉาน โรงศาล ลูกหลาน วิตถาร
         ศาส์น สถาน สมาน สงสาร สังหาร สังขาร สนุกสนาน สันนิษฐาน สัณฐาน
         สุสาน หลักฐาน ห้วยละหาน ห้าวหาญ อาขยาน ฮึกหาญ
         เกรงขาม เข็ดขาม ไต่ถาม ล้นหลาม สาม หนาม หยาม หาม
         กระถาง ขัดขวาง ขนาง ฉาง ดาวหาง รุ่งสาง สะสาง หมาง หาง
         ควันหลง บุหรง ประสงค์ ผง พิศวง พิษสง ระหง สรง หงษ์ หงส์ หลง
         กุศล โกลาหล ขน ฉงน ฉ้อฉล ชั่วฉล ถนน ปันผล ผล ฝน ฝึกฝน พหล สน
         สถล สับสน หน เหตุผล แห่งหน
         ขม ขนม ฉม ถม ผม ผสม สม เสียงขรม หมักหมม อุ้มสม
         กังขา ขา ขลา ขนิษฐา คาถา ครวญหา เคหา เชษฐา ซ้ายขวา เดียงสา ตัณหา
         ถือสา นขา บุปผา แบหรา ปักษา ปุจฉา ปรึกษา ประสา ปรารถนา ปัญหา
         ผวา ฝั่งฝา หรรษา พาหา ภาษา ภูผา มิจฉา มัจฉา มัศยา มุสา ยศฐา รถา
         
         เสน่หา หรรษา หัตถา หมา อนาถา อาสา อิดหนา
         เขียง เฉียง เฉลียง ถกเถียง เสียง สะไบเฉียง
         เขียว เฉลียว ฉุนเฉียว แน่นเหนียว ประเดี๋ยว เสียว เหนียว เหลียว
         กระเษียร กระเสียน เกษียณ เขียน คลื่นเหียน ฉวัดเฉวียน เศียร เสถียร เสมียน
         เสวียน
         เขิน ขวยเขิน ฉุกเฉิน เถิน ผิวเผิน สรรเสริญ ห่างเหิน เหาะเหิร
         เสือ เถือ เหนือ เหลือ เผือ
         กงศุล กระสุน ขุน ขนุน ฉุน เฉียวฉุน หนุน อุดหนุน หุน
         ฉลู ถู หู หนู หมู หรู อดสู
         แขน แขวน แบบแผน เฝ้าแหน แสน หวงแหน แหวน
         กันแสง กรรแสง กำแหง แขนง เคลือบแฝง แถลง แผง แผลง แฝง ระแหง
         แสง แสยง แสลง แสวง หน่ายแหนง
         ขำ ขยำ ถลำ หนำ อิ่มหนำ อุปถัมภ์
         กระทันหัน กระยาหงัน กระสันต์ กังหัน ขัน ขยัน คับขัน ฉัน เฉิดฉัน ถัน ถลัน
         ถวัลย์ ฝัน ไพรสัณฑ์ มหันต์ มิ่งขวัญ โศกศัลย์ สร้างสรรค์ สวรรค์ รังสรรค์ สีสัน
         เสกสรร สุขสันต์ หัน หยัน หุนหัน อรหันต์ อาสัญ อาถรรพณ์ เอกฉันท์ ไอศวรรย์
         ชวนหัว ถัว ทูวหัว ผัว สลัว หัว ขรัว
         เขว เฉ โผเผ สรวลเส หันเห
         เฉลว เหว เหลว
         กระแส แข แฉ ตอแหล แผล แยแส แห แหน แหง
         เข็น เข็ญ เสน เห็น เหม็น
         เขา เขลา เฉลา เถา เผา เสลา เหา เหงา เหมา อับเฉา
         เขย เขนย เฉย เฉลย เผย ระเหย เสย เอ๋ย
         เฉลิม ส่งเสริม เห่อเหิม ฮึกเหิม
         เถลิง ยุ่งเหยิง เหลิง
         กระสวน กำศรวล ฉนวน ผันผวน สงวน สวน หอมหวน โหยหวน
         กระสวย ขวย ฉวย ฉาบฉวย ผ้าผวย สลวย สวย หวย
         ถอย ผลอย เผาะผอย ฝอย สอย หอย
         สรวง หวง หลวง
         ขอม ถนอม ผอม หลอม หอม
         ของ จองหอง ถอง สมอง สอง หนอง หมอง
         กระฉอกกฉอน ขอน ถอน สลอน สอน หงอน หนอน หมอน หลอน หอน
         กาสร เกสร ไกรสร ไกรศร ประภัสสร สมร สโมสร สิงขร สังหรณ์ อักษร
         อัปษร อดิสร
         ขวดโหล ถ้วยโถ โผ โมโห ยะโส โหล อักโข
         โขมง โขยง โขลง ตายโหง โผง โอ่โถง
         โถม สอางค์โฉม โสม โหม
         กระโถน โขน โผน โหน โหลน
         กฎหมาย กระสาย กระหาย ขนขวาย ขยาย ขาย ฉาย ถวาย ทั้งหลาย ผึ่งผาย
         สยาย สลาย สหาย สาย หมาย หวาย หาย เหลือหลาย
         ขาว สาว หนาว หาว แหลนหลาว อื้อฉาว
         ขอ ดินสอ น้ำลายสอ หนอ หมอ
         ตุ๋ม มรสุม สุม หลุม ตีขลุม
         นางเสือง เหมือง เหลือง
         กลิ่นฉุย ขุย ถุย ปุ๋ย
         เฉือน เหมือน
         สูรย์ ไอศูรย์

         คำไวพจน์คือคำที่มีความหมายอย่างเดียวกันหรือคำที่พ้อง
ความหมายนั่นเอง

พระพุทธเจ้า
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า พระบรมศาสดาจารย์ พระโลกุตมาจารย์
กระสรรเพชร พระสุคต พระโลกนาถ พระมหามุนินทร์ พระชินวร พระชินสีห์
พระนรสีห์ พระสัพพัญญู พระบรมครู พระธรรมสามัสร์ พระศากยมุณี พระจอมไตร
พระทศญาณ พระทศพลญาณ พระพิชิตมาร พระสมณโคดม พระมหาสมณะ
พระเจ้าแผ่นดิน
กษัตริย์ ขัตติยะ เจ้าชีวิต บพิตร ปิ่นเกล้า ผ่านเผ้า พระเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว ภูบาล ภูบดี ภูธร ภูธเรศร์ ไท ไท้ นรินทร์ นเรนทร์ นโรดม
เจษฎา ฤาสาย วิภู ราช ราชัน ราชินทร์ ราเชนทร์ ทรงธรรม ชนินทร์ ธเรศ
จักรพรรดิ์ ทรงภพ นเรศวร นเรศูร นเรนทรสูร มหิธร มหิบาล มเหศวร ธรณิศ
ภูเบศ ภูมี ภูวนาถ ภูวเนตร ภูวไนย ภูวดล ภูมิบาล ธรณิศ ธรณิศร ธรณิศวร์
ธรณินทร์ มนุษยเทพ ภูมีศวร ภูมินทร์ ภูมิบดี อธิราช จักรี จักริน นาราธิป อธิป
นฤบาล นฤนารถ นฤเบศร์ นฤบดี นฤบดินทร์ มหิดล นโรดม มหิศวร ราชา
ราชาธิราช สมมติเทวราช อดิศร นริศ นราธิเบศร์ อดิศวร
ใจ
กมล แด ทรวง ทรวงใน มโน มน มาน รติ ฤทัย ฤดี หฤทัย อก อุระ

คำเปรียบเทียบ
กล คล้าย ครุวนา เฉก ฉัน เช่น ดั่ง ดุจ เทียบ เที้ยน เทียม ประดุจ ประเล่ห์
ประหนึ่ง พ่าง เพี้ยง เหมือน ราว ราวกับ เล่ห์ เสมือน อุปมา อย่าง ปาน เปรียบด้วย

นักปราชญ์
กวี โกวิท โกศล ธีร ธีมา เธียร บัณฑิต ปัญวา ปราชญ์ ปริญญา เปรียญ
พยัตตะ มนู มุนี มุนินทร์ เมธี เมธาวี วิทุร สุธี

ผู้หญิง
กนิษฐ์ กนิษฐา กระลาพิน กระลาศรี กัญญา กันยา กัลยาณี กานดา กามินี เกน
กลอยใจ แก้วตา ขนิษฐา ดรุณี ดวงสมร ถี นง นงคราญ นงราม นงนุช นงนาฏ
นงเยาว์ นงลักษณ์ นงโพธ นงพาล นงพะงา นรี นารี นฤมล นาเรศ นิรมล นุช
เนียง แน่ง แน่งน้อย บังอร โผอน พธู พนิดา พะงา พังงา ภคินี ภาคินี
มาณวิกา มารศรี ยอดสร้อย ยาหยี ยุพยง ยุพเรศ ยุพดี ยุพา ยุพาน
ยุพิน ยุพาพาล ยุพาพิน ยุวดี เยาวมาลย์ เยาวเรศ เยาว์ลักษณ์ เยาวพา รมณี
ร้อยชั่ง วธู วนิดา วรดนู วรางคณา วิมล ศรี สดี สตี สตรี สมร สะคราญ
สายสมร สายสวาท สุดา เสาวภาคย์ สุนทรี อนงค์ อร อรไท อ่อนไท อ่อนไท้
อรนุช อังคณา อัมพา อิตถี อิสัตรี

ดอกไม้
กรรณิกา กุสุม โกสุม กุสุมาลย์ จราว จาว บุปผ บุปผา บุปผชาติ บุษบะ บุษบา
บุษบง บุษบัน บุหงัน บุหงา ผกา พบู พเยีย พวงมาลา มาลย์ มาลัย มาลา
มาลี สุมน สุมนา สุมาลี สุคันธชาติ สะบู ปสพ พันลอก กะบัง

ท้องฟ้า
คคนัมพร คคนางค์ คคนานต์ ทิฆัมพร นภ นภดล นภมณฑล นภา นภาลัย โพยม
โพยมาน เวหะ เวหา เวหาส เวหน เวหายส หาว อฆ อนิลบถ อัมพร ดาราบถ

น้ำ
กระสินธ์ กาสาร กุนที เกียน คงคา จาว ชทึง ฉทึง ชรทึง ชร ชล ชลชาติ
ชลธาร ชลธี ชลธิศ ชลาธาร ชลัมพุ ชลาลัย ชลาศัย ชเล ชโลทร โดย โตย ตระพัง
ตะพัง กระพัง ทก ธาร ธารา นที มหรณพ มหรรณพ ยมนา รหัท ละหาน
วหา วาปี วริ สาริน วารี วาหินี ศิรา สมุทร สริต สลิล สาคร สาคเรศ สินธุ
โสทก อรรณพ อุมพุ อุทก อุทกธาร อุทกธารา โอฆชล เนียร

พระจันทร์
แข โค จันทร์ จันทร จันทรพิมพ์ จันทรมณฑล เดือน ตโมนุท ตโมทร แถง
โทษากร โทษรมณ์ นิศากร นิศานาถ นิศาบดี นิศามณี นิศารัตน์ บุหลัน ปักษาธร
พิธุ มา มาส รชนีกร รัชนีกร วิธู ศศธร ศศพินทุ ศศลักษณ์ ศศิ ศศิน ศศี
ศศิธร ศศิมณฑล สวรรคบดี สุมา โสม อินทุ อุทุราชา สุมะ รัตติกร กลา กลาพิมพ์
กลาแถง มนทกานติ พิธุ สิตางศุ์

พระอาทิตย์
ตโมนุท ตะวัน ไถง ทินกร ทิพากร ทิวากร ประภากร พันแสง ภากร ภาณุ
ภาณุมาศ ภาสกร รพิ รพี รวิ รวี รังสิมันต์ รังสิมา รำไพ วรุณ สหัสรังสี สุริยะ
สุริยากร สุริยง สุริยา สุริเยนทร์ สุริเยศ สุริโย สุริยน สุริยัน สูร สูรยะ อักกะ
อังศุธร อังศุมาลี อาภากร อุษณรัศมี อุษณรูจี อุษณกร

เมือง
ธานิน ธานี ธานินทร์ นคร นครินทร์ นคเรศ บุระ ปุร บุรินทร์ บุรี บูรี ประเทศ
พารา กรุงไกร สรุก

โลก
โกกุ ฉมา ด้าว ธรณี ธรา ธราดล ธริษตรี ธาษตรี ธาตรี ปฐพี ปฐวี ปถพี
ปัถพี ปัถวี ผงอน ผไท ไผทโกรม พสุธา พสุธาดล พสุนธรา พสุมดี พิภพ ภพ
ภู ภูดล ภูมิ ภูริ ภูวะ ภูวดล ภูวนะ มหิ มหิดล เมทนี เมทินี นิมา โลกธาตุ
โลกย โลกัย วสุธา วสุนธรา วสุมดี หล้า อจลา อุรพี โกษ

นก
เขจร ทวิช บุหรง ปักษา ปักษี สกุณ สกุณี สุโนก ศาพก โศลาฏ วิหค วิหงค์
ทวิชาติ ทิช ทิชากร ปักษิณ พิหเคนทร์ ปักษวาหน ปักษคม พิหค

ช้าง
คชินทร์ คเชนทร์ หัสดี ดำรี ดำไร ดมไร ทนดี หัสดี หัสดินทร์ กรี กรินทร์
กเรนทร์ กุญชร คช คชา คชาธาร โคบุตร พลาย พัง นาค นาคินทร์ นาเคนทร์
มาตงค์ นรการ สาร หัตถี หัสดินทร์ ไอยรา ไอยราพต คชสาร สาง นาคศวร
ทันตี ทันติน พารณ พารณะ วารณ หัตถินี กรินี พังคา นาเคศ

ม้า
ตุรงค์ ตุรคะ มโนมัย สินธพ แสะ หัย อาชา อาชาไนย อัสสะ อัศวะ อัศวิน
อัสดร พาชี ดุรค ดุรงค์ ดุรงคี

เสือ
ขาล ตะโก ทวีปี พยัคฆ์ พยัคฆา พยัคฆี พยัคฆิน อชินี พาฬ ศารทูล ขลา

วัว
วสภ พฤษภ พลิพัท ฤษภ วัตสดร อุสภ อุสุภ คาวี เคา ฉลู

ควาย
มหิงส์ มหิษ ลุลาย กาสร กระบือ มหิงสา

ลิง
ทุโมน พลีมุข ชรโมล วานร พานร วานรินทร์ พานรินทร์ พานเรศ กระบี่ กบินทร์
กเบนทร์ กบิล มักฏะ วอก สวา ปลวังค (อ่านปะละวังคะ)

สวรรค์
สรวง สันรวง สุคติ สุรบถ สุราลัย สุรโลก สัค สัคคะ ไกวัล ไกพัล ทิพ ไตรทิพ
จาตุมหาราชิก ดางดึงส์ ยามะ ดุสิต นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตดี วยัมหะ โสฬส
กระยาหงัน ลางงิด ไทวะ สุขาวดี ศักรภพน์

พระนารายณ์
พระวิษณุ ตรีโลเกศ จัตุรภุช จักรปราณี สังขกร หริ หริรักษ์ พระทรงครุธ พระทรงสุบรรณ
พระทรงสังข์ รามราช วาสุเทพ พระกฤษณ์ วิณหุ

พระอินทร์
มัฆวา มัฆวาน มฆวัน ตรีเนตร มหินท์ มเหนท์ วชิร วิชราวุธ วชิรปราณี
วชิรหัตถ์ วัชรี วัชรินทร์ วัชรเรนทร์ วาสพ ศักร ศักรินทร์ ศักเรนทร์ สักกะ
สุชัมบดี สุรบดี สหัสนัยน์ สหัสเนตร สุรินทร์ สุเรนทร์ โกสีย์ โกสินทร์ อมรบดี
อมรราช อมรินทร์ อมเรศ เทพบดี เพชรายุธ พันตา พันเนตร วัชรพาหะ

พระอิศวร
ศุลี ศูลี ศูลิน ศังกร ปรเมศวร์ สยมภู จอมไตร ศิวะ มหาเทพ เทพาธิบดี
ตรีโลกนารถ ตรีโลจน์ มเหศ มเหศวร ภูตบดี ภูเตศวร ธราธร ธราธาร พระทรงโค
หร (อ่าน หะระ)

พระพรหม
ธาดา จัตรุพักตร์ ปรเมษฐ์ ประชานาถ กมลาสน์ กมเลศ กัมลาศ สหัมบดี สุรเชษฐ์
หงสรถ กำมลาศน์ ขุนแผน พระทรงหงส์

เทวดา
เทพ เทว เทวัญ เทเวศร์ เทพบุตร เทพยดา เทพยุดา เทพาดิเทพ เทวินทร์
เทพินทร์ สุรารักษ์ อดิเทพ สุร อมร อมรา อำมร แมน สุธาสินี สุธาสี
อสัญแดหวา แถน มรุ นิรชร (อ่านนิระชอน)

นางฟ้า
เทวี เทพธิดา สุรางค์ สุรางคนางค์ สุรางคนา รัมภา อัปสร อัจฉรา นิรชรา

ยักษ์
ยักษา ยักษี ยักษิณี ยักข์ ยักขินี รักขสะ รากษส รากโษส อสุร อสูร อสุรา
อสุรินทร์ อสุรี อสุเรนทร์ อสุเรศ ราพณ์ ราพณาสูร รามสูร แทตย์ กุมภัณฑ์

ทองคำ
โสม เหม จารุ อุไร กาญจน กาญจนา สุพรรณ สุวรรณ สุวรรณา สุวรรณี
จามีกร หิรัณย์ หาดก หาตก มาศ ริน ชาตรูป ชมพูนุท ชามพูนุท กนก ไร สิงคี
โสณ มหาธาตุ

เงิน
หิรัญ ไหรณ ปรัก รชตะ สัชฌะ สัชฌุ งึน เงือน

ดอกบัว
บุณฑริก ปทุม สัตตบุษย์ บุษบัน นิลุบล นิลปัทม์ จงกล ประวาลปัทม์ สัตตบงกช
โกมุท โกกนุท ไกรพ บุษกร ปัทม ปัทมา อินทีวร อัมพุช บงกช อรพินท์
สัตตบรรณ อุบล จงกลนี กมล โกเมศ โกมล กรกช สโรช สาโรช นลิน นลินี
กช กมุท กระมุช วาริช ชาตบุษย์ ตาราไต วารีช ลินจง โบกขร สฤก อุปบล
นีรช (อ่าน นีระชะ)

ป่า
อรัญ อารัญ อารัณย์ อรัณย์ อรัญญิก ชระงม วนวัน พนา พนาวัน พนาลี
พนาลัย พนาวา พนาเวศน์ พนาราม พนาดร พนันดร พนัส พนัสบดี พนาสณฑ์
พนาสัณฑ์ ไพรสณฑ์ ไพรสัณฑ์ พงไพร พงพี ไพรศรี พนาศรี ไพรวัณ ไพรระหง
พนอง เถื่อน กานน ครึมครุ ดงดาน ชัฏ อฏวี (อ่าน อะตะวี)

ภูเขา
พนม พนอม ภู ภูผา คิริ คีรี กันทรากร บรรพต บรรพตา บรรพตชาล
บรรพตมาลา มหิธร มเหยงค์ ศิขร ศิขริน ศิขรี ศิงขร ศิงขริน ไศล สิขรี สิขเรศ
สิงขร สิงค์ เสล เสสา

ปลา
มีน มัจฉะ มัจฉา มัจฉาชาติ มัตสยะ มัตสยา มัศยา วาริช วลัช นีรจร กะรัง

        คำเอก คำโท คำเอกโท ในโคลงสี่สุภาพ (ดูที่รูปไม่คำนึงถึงระดับเสียง)

    

คำเอก (คำบังคับในโคลงสี่สุภาพ)คำที่มีรูปเอกได้แก่ ก่อน แต่ เนิ่น แม่ พ่อ ว่า ย่อม หว่าน ย่อม พร่ำ เพ่ง โก่ง ซ่อน เด่น    แน่ ท่าน ร่อน เก่ง จึ่ง ค่อน ซึ่ง สั่ง อ่อน ฯลฯ

คำตายที่แทนคำเอก

ได้แก่

    เกิด เลิศ เทิด     เพราะ เสนาะ เสาะ เลาะ

    ยาก พราก จาก มาก พากย์     สัตย์ วัด นัด วัฒน์ ทัด ขัด จัด

    นาจ พาส ศษสตร์ มาด นาจ ทาส ราช มาตร     พูด ทูต สูตร

    พจน์ รส สด อด จรด บท ขด ประณต รันทด     เกียรต เสียด เบียด เลียด

    สุทธิ วุฒิ นุช ฉุด     เวช เหตุ วิทย์ มิตร ศิษย์ นิจ อรรถ รอด พรอด

    แบบ แยบ แนบ    ลาภ หยาบ ราบ ทาบ สาบ     โลภ ฯลฯ

คำโท ในโคลงสี่สุภาพ คือคำที่มีรูปวรรณยุกต์โท

    ฟ้า ท้า หล้า ระย้า กล้า ข้า จ้า     ฟุ้ง ยุ้ง คุ้ง รุ้ง     ลี้ จี้ ชี้

    ฟ้อง ร้อง น้อง ห้อง ข้อง จ้อง ท้อง ป้อง ซ้อง ช้อง ต้อง ก้อง

    แล้ว แคล้ว แก้ว แจ้ว แพร้ว แป้ว     พร้อม ค้อม ย้อม น้อม อ้อม ป้อม

    ไล้ ไซร้ ให้ ไว้ ไร้ ใช้ ใบ้    ย้าย คล้าย ละม้าย

    เลี้ยว เสี้ยว เคี้ยว เปรี้ยว     เน้า เข้า เร้า เคล้า เฝ้า

คำเอกโท

    แต่งแต้ม ต่อต้าน เดือดร้อน ต่อสู้ แก่กล้า ร่ำร้อง เลิศล้วน แหล่งหล้า

    อกโอ้ ปกป้อง กู่ก้อง โยกย้าย เลิศหล้า เยี่ยงนี้ เล่ห์ร้าย คลุกเคล้า

    ย่างเยื้อง ดุ่มด้น ดับสิ้น เดือดร้อน แซ่ซ้อง กีดกั้น โอบเอื้อ จาบจ้วง

    จึ่งต้อง ติดหนี้ ยากไร้ คลั่งแค้น ขัดข้อง หม่นไหม้ อ่อนล้า ไขว่คว้า

 

        คำคู่ ในการแต่งกาพย์ฉบัง 16    

ต่อเติม เสริมส่ง อบอวล ชวนชม กระเทือนกระทบกระแทก ขัดขวางดั้นด้น ยุ่งยาก พึ่งพา พรั่งพรู สอดส่อง ห้องหอ คลอเคลีย วัดวา ตกแตกทรุดโทรม น้อมนบ ร่ำลา

ที่มา : http://www.st.ac.th/bhatips/gabpglon.html

ใส่ความเห็น