บทเรียนวิชาภาษาไทยพื้นฐานมัธยมศึกษาปีที่ 6

กาพย์เห่เรือ

ประวัติผู้แต่ง  เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐ์สุริยวงศ์  เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ  ทรงเป็นกวีเอกในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย  ถือได้ว่าเป็นยุคทองของวรรณคดีที่สำคัญอีกยุคหนึ่ง พระองค์ทรงมีความสามารถในเชิงอักษรศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง  โดยเฉพาะในด้านนิรุกติศาสตร์และฉันทศาสตร์  พระนิพนธ์ของพระองค์มีทั้งที่เกี่ยวกับทางโลกและทางธรรม  ทางธรรมได้แก่ นันโทปนันทสูตรคำหลวง  และพระมาลัยคำหลวง  ทางโลกได้แก่  กาพย์เห่เรือ  กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง  กาพย์ห่อโคลงนิราศพระบาท  กาพย์เห่เรื่องกากี เป็นต้น  ต่อมาได้บังเกิดเหตุอันน่าสลดใจ เมื่อเจ้าฟ้ากุ้งต้องพระราชอาญาว่าทรงลอบเป็นชู้กับเจ้าฟ่าสังวาลย์  จึงถูกลงทัณฑ์จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ทั้งสองพระองค์  และประดิษฐานพระบรมอัฐิไว้ ณ วัดไชยวัฒนาราม

ดาวน์โหลดเอกสาร :

ตำนานกาพย์เห่เรือ


รูปแบบ  แต่งเป็นกาพย์ห่อโคลง  มีโคลงสี่สุภาพนำ  1  บท  เรียกว่าเกริ่นเห่  และตามด้วยกาพย์ยานี 11  พรรณนาเนื้อความโดยไม่จำกัดจำนวนบท

จุดประสงค์ในการนิพนธ์  คือ  ใช้เห่เรือเล่นในคราวเสด็จฯ โดยทางชลมาครเพื่อไปนมัสการพระพุทธบาท  จังหวัดสระบุรี  การเห่เรือนอกจากจะเป็นที่สำราญพระราชอิริยาบถแล้ว  ยังเป็นการให้จังหวะแก่ฝีพายด้วย

เนื้อเรื่องย่อ  กล่าวถึงขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ซึ่งประกอบด้วยเรือพระที่นั่งกิ่ง  และเรือที่มีโขนเรือเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ คือ  เรือ ครุฑยุดนาค เรือไกรสรมุข เรือสมรรถชัย เรือสุวรรณหงษ์ เรือชัย เรือคชสีห์ เรือม้า เรือสิงห์ เรือนาคา (วาสุกรี) เรือมังกร เรือเลียงผา เรืออินทรี  เห่ ชมปลา กล่าวพรรณนาชมปลาต่าง ๆ มี ปลานวลจันทร์ คางเบือน ตะเพียน กระแห แก้มช้ำ ปลาทุก น้ำเงิน ปลากราย หางไก่ ปลาสร้อย เนื้ออ่อน ปลาเสือ แมลงภู่  หวีเกศ ชะแวง ชะวาด ปลาแปบ  เห่ ชมไม้ เมื่อเรือแล่นเลียบชายฝั่ง ชมไม้ที่เห็นตามชายฝั่ง ซึ่งมี นางแย้ม จำปา ประยงค์ พุดจีบ พิกุล สุกรม สายหยุด พุทธชาด บุนนาค เต็ง แต้ว แก้ว กาหลง มะลิวัลย์ ลำดวน  เห่ชมนก เมื่อใกล้พลบค่ำเห็นนกบินกลับรัง ก็ชมนกต่าง ๆ มี นกยูง สร้อยทอง สาลิกา นางนวล แก้ว ไก่ฟ้า แขกเต้า ดุเหว่า โนรี สัตวา และจบลงด้วยบทเห่ครวญ เป็นการคร่ำครวญ คิดถึงนางที่เป็นที่รักในยามค่ำคืน

การดำเนินเรื่อง  ดำเนินเรื่องได้สัมพันธ์กับเวลาใน 1 วัน  คือ  เช้าชมกระบวนเรือ  สายชมปลา  บ่ายชมไม้ เย็นชมนก กลางคืนเป็นบทครวญสวาท

การพรรณนาความ ตอนชมปลา ชมไม้ ชมนก มีการพรรณนาพาดพิงไปถึงหญิงที่รัก เข้าทำนองเดียวกับนิราศ

ประเพณีการเห่เรือ  มีมาแต่โบราณ แบ่งเป็น 2 ประเภท  คือ  เห่เรือหลวง  และเห่เรือเล่น  เห่เรือหลวงเป็นการเห่เรือในราชพิธี  ส่วนเห่เรือเล่น ใช้เห่ในเวลาเล่นเรือเที่ยวเตร่  กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร เดิมเป็นเห่เรือเล่น  ต่อมาในรัชกาลที่ 4  ใช้เป็นบทเห่เรือหลวง

ตำนานการเห่เรือ  สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่าการเห่เรือของไทยน่าจะได้แบบมาจากอินเดีย  แต่ของอินเดียใช้เป็นมนต์ในตำราไสยศาสตร์  บูชาพระราม  ของไทยใช้การเห่เรือบอกจังหวะฝีพายให้พายพร้อมกันเป็นการผ่อนแรงและให้ความเพลิดเพลิน

ลำนำการเห่เรือ  มี 3 ลำนำ คือ
1. ช้าละวะเห่  มาจาก  ช้าแลว่าเห่  เป็นการเห่ทำนองช้า  ใช้เห่เมื่อเรือเริ่มออกจากท่าและเมื่อพายเรือตามกระแสน้ำ
2. มูลเห่  เป็นการเห่ทำนองเร็ว ๆ ใช้เห่หลังจากช้าละวะเห่แล้ว ประมาณ 2-3 บท และใช้เห่เรือตอนเรือทวนน้ำ
3. สวะเห่  ใช้เห่เมื่อเรืจะเทียบท่า

คุณค่าที่ได้รับ
คุณค่าทางด้านวรรณศิลป์
1. รูปแบบสอดคล้องกับเนื้อหา
2. ดีเด่นทางด้านการพรรณนาให้เห็นภาพ และให้อารมณ์ความรู้สึกดี
3. ศิลปะการแต่งดี  มีกลวิธีพรรณนาโดยใช้การอุปมา  การเล่นคำ  การใช้คำที่แนะให้เห็นภาพ คำที่นำให้นึกถึงเสียง  คำที่แสดงอารมณ์ต่าง ๆ ได้ดี
คุณค่าทางด้านสังคม
1. สะท้อนภาพชีวิตของคนไทยในปลายกรุงศรีอยุธยาที่ใช้การสัญจรทางน้ำเป็นสำคัญ เนื่องจากประเทศไทยมีแม่น้ำลำคลองมาก
2. ให้ความรู้เกี่ยวกับขบวนพยุหยาตราทางชลมารค  และประเพณีการเห่เรือ
3. สะท้อนให้เห็นขนบธรรมเนียมประเพณี  ต่านิยม  และความเชื่อของคนไทย เช่น ค่านิยมเกี่ยวกับความงามของสตรีว่าจะต้องงามพร้อมทั้งรูปทรง  มารยาท  ยิ้มแย้มแจ่มใส  และพูดจาไพเราะ ความเชื่อเรื่องเวรกรรมตามหลักพระพุทธศาสนา เป็นต้น

บทเห่ชมเรือกระบวน

โคลง 
ปางเสด็จประเวศด้าว   ชลาไลย
ทรงรัตนพิมานไชย   กิ่งแก้ว
พรั่งพร้อมพวกพลไกร   แหนแห่
เรือกระบวนต้นแพร้ว   เพลิศพริ้งพายทอง ฯ

ช้าลวะเห่
พระเสด็จโดยแดนชล   ทรงเรือต้นงามเฉิดฉาย
กิ่งแก้วแพร้วพรรณราย   พายอ่อนหยับจับงามงอน
นาวาแน่นเป็นขนัด   ล้วนรูปสัตว์แสนยากร
เรือลิ่วปลิวธงสลอน   สาครสั่นครั้นครื้นฟอง

เรือครุฑยุดนาคหิ้ว   ลิ่วลอยมาพาผันผยอง
พลพายกรายพายทอง   ร้องโห่เห่โอ้เห่มา
สรมุขมุขสี่ด้าน   เพียงพิมานผ่านเมฆา
ม่านกรองทองรจนา   หลังคาแดงแย่งมังกร
สมรรถไชยไกรกาบแก้ว    แสงแวววับจับสาคร
เรียบเรียงเคียงคู่จร    ดังร่อนฟ้ามาแดนดิน

สุวรรณหงส์ทรงภู่ห้อย    งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์
เพียงหงส์ทรงพรหมินทร์    ลินลาศเลือนเตือนตาชม
เรือไชยไวว่องวิ่ง    รวดเร็วจริงยิ่งอย่างลม
เสียงเส้าเร้าระดม    ห่มท้ายเยิ่นเดินคู่กัน ฯ

View original post 350 more words

การแต่งคำประพันธ์ประเภทต่างๆ

สวัสดีค่ะ หน้านี้ครูจะให้ความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้คำ ในการแต่งคำประพันธ์ ประกอบด้วย

สารบัญเนื้อหา
คำสัมผัสคล้องจอง คำสัมผัสนอก สัมผัสใน
 คำสัมผัสสระ คำสัมผัสอักษร คำเสียงสูง (จัตวา) ลงท้ายวรรครับของกลอน
 คำไวพจน์ คำเอก คำโท คำเอกโท ในโคลงสี่สุภาพ
คำคู่ ในการแต่งกาพย์ฉบัง 16    

           ประเภทของคำประพันธ์ หรือ ร้อยกรองของไทย ตัวอย่างโคลงสี่สุภาพ

กาพย์ยานี11ร้อยกรอง

คำสัมผัสคล้องจอง
หมายถึง พยางค์ที่คล้องจองด้วยเสียงของสระหรือเสียงของพยัญชนะ
หากคล้องจองด้วยเสียงสระเรียกว่า สัมผัสสระ 
หากคล้องจองด้วยเสียงพยัญชนะเรียกว่า สัมผัสอักษร
ตัวอย่างเสียงสัมผัสสระ

เสียงไอ
เสียงอาย
เสียงเอือ
เสียงอู
เสียง เอ
เสียง อา
เสียง เอา
เสียง อี
เสียง อำ
เสียง เอาะ
เสียง อัน
เสียง อาน
เสียง เอิน
เสียง อิน
เสียง ออน
เสียง อม
เสียง ออง
เสียง อัง
เสียง แอง
เสียง อิง
เสียง อาว
เสียง ออย
ฯลฯ

ด้แก่ ได้ ไม่ ใส่ ไหน ไทย ไร้ ให้ ไป ไต ไว้ ใบ ใย ฯลฯ
ได้แก่ ขาย ย้าย ตาย หลาย คล้าย หน่าย ทราย พราย หาย ยาย ฯลฯ
ได้แก่ เรือ เหลือ เชื่อ เหงื่อ เบื่อ เถือ มะเขือ เพรื่อ เนื้อ ฯลฯ
ู ได้แก่ งู ชู้ ผู้ หนู หู ชู อู้ หมู ฯลฯ
ได้แก่ เท เก ทะเล เร่ เห จระเข้ ฯลฯ
ได้แก่ ตา จ้า ลา ป่า ถ้า น้า ข้า ช้า ระย้า จ๋า สา หา ฯลฯ
ได้แก่ เขา เขลา เยาว์ เศร้า เบา เช้า เฝ้า เร้า เสา ฯลฯ
ได้แก่ ระวี สี ปี ชี้ หนี พี่ ขจี วลี วจี
ได้แก่ ย้ำ ช้ำ ขำ ตำ รำ ฉ่ำ กล้ำ พร่ำ ยำ ทำ ธรรม ฯลฯ
ได้แก่ เฉาะ เงาะ เหมาะ เสนาะ เลาะ เหาะ หัวเราะ ฯลฯ
เสียง อัน ได้แก่ สัน (สรรค์ สรร ศัลย์) อัน มัน ขัน นั้น ชั้น กลั่น พรั่น ฯลฯ
เสียง อาน ได้แก่ กาน บ้าน อ่าน สาร จาน ขาน ชาญ ผ่าน ท่าน ร้าน ฯลฯ
เสียง เอิน ได้แก่ เดิน เขิน เมิน เพลิน เชิญ เผอิญ เนิ่น ฯลฯ
เสียง อิน ได้แก่ สิน ถิ่น สิ้น ชิ้น หิน ดิน ลิ้น ยิน กลิ่น ปิ่น ฯลฯ
เสียง ออน ได้แก่ ขอน สอน (ศร) อ้อน ย้อน หม่อน นอน ร้อน ช้อน หนอน
เสียง อม ได้แก่ ขม ลม ชม ส้ม ห่ม ผม ต้ม ตรม กลม ขนม ฯลฯ
เสียง ออง ได้แก่ น้อง จอง ของ ร้อง ฟอง ท่อง ผ่อง กลอง ต้อง ฯลฯ
เสียงอัง ได้แก่ นั่ง ขัง ยัง พลั้ง สั่ง ดัง ตั้ง ฯลฯ
เสียง แอง ได้แก่ แสง แรง แล้ง แห้ง แจ้ง แต่ง แกง แพง แผง แหนง แว้ง
เสียง อิง ได้แก่ จริง หญิง พริ้ง ทิ้ง กลิ้ง วิ่ง อิ่ง ชิง ติง ฯลฯ
เสียง อาว ได้แก่ สาว พราว หนาว หาว ว่าว ข้าว จ้าว ผ่าว คาว ฯลฯ
เสียง ออย ได้แก่ สอย น้อย ห้อย ย้อย ต่อย สร้อย ค่อย ฯลฯ
 
เสียงสัมผัสอักษร

เสียง ค
เสียง ก
เสียง ร
เสียง ล
เสียง น
เสียง ท
เสียง พ
เสียง จ

เสียง ด

ฯลฯ

ด้แก่ คุณ ควร คิด ครวญ คำ คล้าย เคียง คลอง ข้าง ขอบ คู ฯลฯ
ได้ แก่ กล กานต์ เกรียง ไกร ก้อง เก่ง กาจ แก้ว โกรธ ฯลฯ
ได้แก่ ร้อย รัก เรียง รัด รอบ ฯลฯ
ได้แก่ ลม ลอย โล่ง ลา ลับ แล้ว ฯลฯ
ได้แก่ น้อง หน่าย แหนง นิด หน่อย นะ ฯลฯ
ได้แก่ ทอ ถัก แท้ เทียม ทอง ทา ฯลฯ
ได้แก่ พร พหรม พัด พา พร่าง พราว แพร้ว ผอม ผ่อง พรรณ ฯลฯ
ได้แก่ จวบ จวน แจ่ม แจ้ง จัด เจน จัก เจียน จ้อง จู่ โจม
ได้แก่ เดิน ดุ่ม เดี่ยว เดียว ดาย ดอก ดวง แด แดด ดั่ง ดุจ ฯลฯ
สัมผัสนอก สัมผัสใน
สัมผัสนอก คือสัมผัสนอกวรรคและนอกบท หรือระหว่างวรรคและระหว่างบท
เป็นสัมผัสบังคับด้วยเสียงสระ เมื่อไรที่พูดถึงสัมผัสนอกก็คือสัมผัสบังคับนั่นเอง
สัมผัสสระเป็นอย่างไรโปรดอ่านทบทวนจากข้อความด้านบน
ตัวอย่างสัมผัสนอกของกลอนสุภาพโปรดสังเกตสีอักษร
     ดอกสร้อยฟ้าเลื้อยเลาะเกาะไม้ใหญ่ ม่วงไสวกระจายคล้ายรัศมี
ยามลมโชยโปรยกลิ่นแสนยินดี คือมาลีงดงามนามสร้อยฟ้า
สร้อยมาลีในป่าน่าเพาะเลี้ยง ไว้คู่เคียงข้างบ้านม่านพฤกษา
ส่งกลิ่นหอมพร้อมกันเดือนธันวาฯ สร้อยมาลีหลากค่าน่านิยม

ครูภาทิพ



สัมผัสในคือสัมผัสในวรรคเดียวกัน ซึ่งมีทั้งสัมผัสสระ และสัมผัสอักษร เป็นสัมผัสที่มีเพื่อความไพเราะ
สุนทรภู่บรมครูด้านการแต่งกลอน เป็นผู้ริเริ่มนำสัมผัสในมาเล่นในการแต่งกลอน
สัมผัสสระและอักษรต่างกันอย่างไร โปรดอ่านข้อความด้านบน

ตัวอย่างการเล่นสัมผัสในของกลอนสุภาพซึ่งมีทั้งสัมผัสสระและสัมผัสอักษร

ตัวอย่างการเล่นสัมผัสใน

ดอกสร้อยอินทนิล

      สร้อยอินทนิลถิ่นอยู่คู่เคียงป่า ดอกสีฟ้าเข้มอ่อนอ้อนออกช่อ
เป็นระย้าเรียงย้อยห้อยเคลียคลอ ดุจจะล้อโลมดินถิ่นแอบเคียง
อิน-นิล-ถิ่น / อยู่-คู่ เป็นสัมผัสสระ คู่-เคียง เป็นสัมผัสอักษร
ย้อย-ห้อย / ดิน-ถิ่นเป็นสัมผัสสระ อ่อน -อ้อน-ออก เป็นสัมผัสอักษร
ย้า -ย้อย /เคลีย-คลอ เป็นสัมผัสอักษร ล้อ-โลม เป็นสัมผัสอักษร

 

         คำเสียงสูง (จัตวา) เหมาะเป็นคำท้ายสุดของวรรครับของกลอนสุภาพ

         กงสี ฉวี บัดสี บายสี ปักษี ผี ฝี ทาสี ภาษี มารศรี ราศรี ราชสีห์ วิถี ศักดิ์ศรี
         สักขี สลับสี สารถี สี หนี หมี หวี หัตถี อิตถี โกสีห์
         กสิณ กระถิน โกสินทร์ ติฉิน ถวิล ผิน เบญจศีล ศิลป สิน สินธุ์ หิน
         ฉิว ผิว แล่นฉิว วาบหวิว สยิว หิว
         ขิม ถนิม สนิม หยิม
         ขิง ผิง สิง สิงห์ สมิง สวิง หญิง
         กระโดดผึง ขึง คิดถึง ถึง ถลึง หึง สึง สลึง
         ขัดขืน ผืน ฝืน เหม็นหืน
         กระสือ ถือ นับถือ หนังสือ หรือ หวือ ปรื๋อ หือ
         กระหัง กุฎฐัง ขัง ขมัง ขลัง ขึงขัง แตรสังข์ ปลูกฝัง ผัง ฝัง เลหลัง หนัง หลัง
         กังไส ไข แขไข เงื่อนไข ไฉน ไถ ไถง ไถล ผลักไส ไฝ ไศล ใส ไสว สุกใส
         สาไถย เสือกใส ไหน ไหว ไหม หลงใหล สลบไสล
         กระษัย กษัย ตักษัย นิสัย ปราศรัย พิสมัย วิสัย สมัย อดิสัย อาศัย
         กล้าหาญ แก่นสาร ขนาน ขวาน ขาน ขาล ข่าวสาร ข้าวสาร ดิรัจฉาน แตกฉาน
         ทวยหาญ ทหาร ธัญญาหาร บรรหาร ประสาน ประหาร ปาฏิหาริย์ ผลาญ ผลาหาญ
         ผสาน พัสถาน ไพศาล รสหวาน รโหฐาน ร้าวฉาน โรงศาล ลูกหลาน วิตถาร
         ศาส์น สถาน สมาน สงสาร สังหาร สังขาร สนุกสนาน สันนิษฐาน สัณฐาน
         สุสาน หลักฐาน ห้วยละหาน ห้าวหาญ อาขยาน ฮึกหาญ
         เกรงขาม เข็ดขาม ไต่ถาม ล้นหลาม สาม หนาม หยาม หาม
         กระถาง ขัดขวาง ขนาง ฉาง ดาวหาง รุ่งสาง สะสาง หมาง หาง
         ควันหลง บุหรง ประสงค์ ผง พิศวง พิษสง ระหง สรง หงษ์ หงส์ หลง
         กุศล โกลาหล ขน ฉงน ฉ้อฉล ชั่วฉล ถนน ปันผล ผล ฝน ฝึกฝน พหล สน
         สถล สับสน หน เหตุผล แห่งหน
         ขม ขนม ฉม ถม ผม ผสม สม เสียงขรม หมักหมม อุ้มสม
         กังขา ขา ขลา ขนิษฐา คาถา ครวญหา เคหา เชษฐา ซ้ายขวา เดียงสา ตัณหา
         ถือสา นขา บุปผา แบหรา ปักษา ปุจฉา ปรึกษา ประสา ปรารถนา ปัญหา
         ผวา ฝั่งฝา หรรษา พาหา ภาษา ภูผา มิจฉา มัจฉา มัศยา มุสา ยศฐา รถา
         
         เสน่หา หรรษา หัตถา หมา อนาถา อาสา อิดหนา
         เขียง เฉียง เฉลียง ถกเถียง เสียง สะไบเฉียง
         เขียว เฉลียว ฉุนเฉียว แน่นเหนียว ประเดี๋ยว เสียว เหนียว เหลียว
         กระเษียร กระเสียน เกษียณ เขียน คลื่นเหียน ฉวัดเฉวียน เศียร เสถียร เสมียน
         เสวียน
         เขิน ขวยเขิน ฉุกเฉิน เถิน ผิวเผิน สรรเสริญ ห่างเหิน เหาะเหิร
         เสือ เถือ เหนือ เหลือ เผือ
         กงศุล กระสุน ขุน ขนุน ฉุน เฉียวฉุน หนุน อุดหนุน หุน
         ฉลู ถู หู หนู หมู หรู อดสู
         แขน แขวน แบบแผน เฝ้าแหน แสน หวงแหน แหวน
         กันแสง กรรแสง กำแหง แขนง เคลือบแฝง แถลง แผง แผลง แฝง ระแหง
         แสง แสยง แสลง แสวง หน่ายแหนง
         ขำ ขยำ ถลำ หนำ อิ่มหนำ อุปถัมภ์
         กระทันหัน กระยาหงัน กระสันต์ กังหัน ขัน ขยัน คับขัน ฉัน เฉิดฉัน ถัน ถลัน
         ถวัลย์ ฝัน ไพรสัณฑ์ มหันต์ มิ่งขวัญ โศกศัลย์ สร้างสรรค์ สวรรค์ รังสรรค์ สีสัน
         เสกสรร สุขสันต์ หัน หยัน หุนหัน อรหันต์ อาสัญ อาถรรพณ์ เอกฉันท์ ไอศวรรย์
         ชวนหัว ถัว ทูวหัว ผัว สลัว หัว ขรัว
         เขว เฉ โผเผ สรวลเส หันเห
         เฉลว เหว เหลว
         กระแส แข แฉ ตอแหล แผล แยแส แห แหน แหง
         เข็น เข็ญ เสน เห็น เหม็น
         เขา เขลา เฉลา เถา เผา เสลา เหา เหงา เหมา อับเฉา
         เขย เขนย เฉย เฉลย เผย ระเหย เสย เอ๋ย
         เฉลิม ส่งเสริม เห่อเหิม ฮึกเหิม
         เถลิง ยุ่งเหยิง เหลิง
         กระสวน กำศรวล ฉนวน ผันผวน สงวน สวน หอมหวน โหยหวน
         กระสวย ขวย ฉวย ฉาบฉวย ผ้าผวย สลวย สวย หวย
         ถอย ผลอย เผาะผอย ฝอย สอย หอย
         สรวง หวง หลวง
         ขอม ถนอม ผอม หลอม หอม
         ของ จองหอง ถอง สมอง สอง หนอง หมอง
         กระฉอกกฉอน ขอน ถอน สลอน สอน หงอน หนอน หมอน หลอน หอน
         กาสร เกสร ไกรสร ไกรศร ประภัสสร สมร สโมสร สิงขร สังหรณ์ อักษร
         อัปษร อดิสร
         ขวดโหล ถ้วยโถ โผ โมโห ยะโส โหล อักโข
         โขมง โขยง โขลง ตายโหง โผง โอ่โถง
         โถม สอางค์โฉม โสม โหม
         กระโถน โขน โผน โหน โหลน
         กฎหมาย กระสาย กระหาย ขนขวาย ขยาย ขาย ฉาย ถวาย ทั้งหลาย ผึ่งผาย
         สยาย สลาย สหาย สาย หมาย หวาย หาย เหลือหลาย
         ขาว สาว หนาว หาว แหลนหลาว อื้อฉาว
         ขอ ดินสอ น้ำลายสอ หนอ หมอ
         ตุ๋ม มรสุม สุม หลุม ตีขลุม
         นางเสือง เหมือง เหลือง
         กลิ่นฉุย ขุย ถุย ปุ๋ย
         เฉือน เหมือน
         สูรย์ ไอศูรย์

         คำไวพจน์คือคำที่มีความหมายอย่างเดียวกันหรือคำที่พ้อง
ความหมายนั่นเอง

พระพุทธเจ้า
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า พระบรมศาสดาจารย์ พระโลกุตมาจารย์
กระสรรเพชร พระสุคต พระโลกนาถ พระมหามุนินทร์ พระชินวร พระชินสีห์
พระนรสีห์ พระสัพพัญญู พระบรมครู พระธรรมสามัสร์ พระศากยมุณี พระจอมไตร
พระทศญาณ พระทศพลญาณ พระพิชิตมาร พระสมณโคดม พระมหาสมณะ
พระเจ้าแผ่นดิน
กษัตริย์ ขัตติยะ เจ้าชีวิต บพิตร ปิ่นเกล้า ผ่านเผ้า พระเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว ภูบาล ภูบดี ภูธร ภูธเรศร์ ไท ไท้ นรินทร์ นเรนทร์ นโรดม
เจษฎา ฤาสาย วิภู ราช ราชัน ราชินทร์ ราเชนทร์ ทรงธรรม ชนินทร์ ธเรศ
จักรพรรดิ์ ทรงภพ นเรศวร นเรศูร นเรนทรสูร มหิธร มหิบาล มเหศวร ธรณิศ
ภูเบศ ภูมี ภูวนาถ ภูวเนตร ภูวไนย ภูวดล ภูมิบาล ธรณิศ ธรณิศร ธรณิศวร์
ธรณินทร์ มนุษยเทพ ภูมีศวร ภูมินทร์ ภูมิบดี อธิราช จักรี จักริน นาราธิป อธิป
นฤบาล นฤนารถ นฤเบศร์ นฤบดี นฤบดินทร์ มหิดล นโรดม มหิศวร ราชา
ราชาธิราช สมมติเทวราช อดิศร นริศ นราธิเบศร์ อดิศวร
ใจ
กมล แด ทรวง ทรวงใน มโน มน มาน รติ ฤทัย ฤดี หฤทัย อก อุระ

คำเปรียบเทียบ
กล คล้าย ครุวนา เฉก ฉัน เช่น ดั่ง ดุจ เทียบ เที้ยน เทียม ประดุจ ประเล่ห์
ประหนึ่ง พ่าง เพี้ยง เหมือน ราว ราวกับ เล่ห์ เสมือน อุปมา อย่าง ปาน เปรียบด้วย

นักปราชญ์
กวี โกวิท โกศล ธีร ธีมา เธียร บัณฑิต ปัญวา ปราชญ์ ปริญญา เปรียญ
พยัตตะ มนู มุนี มุนินทร์ เมธี เมธาวี วิทุร สุธี

ผู้หญิง
กนิษฐ์ กนิษฐา กระลาพิน กระลาศรี กัญญา กันยา กัลยาณี กานดา กามินี เกน
กลอยใจ แก้วตา ขนิษฐา ดรุณี ดวงสมร ถี นง นงคราญ นงราม นงนุช นงนาฏ
นงเยาว์ นงลักษณ์ นงโพธ นงพาล นงพะงา นรี นารี นฤมล นาเรศ นิรมล นุช
เนียง แน่ง แน่งน้อย บังอร โผอน พธู พนิดา พะงา พังงา ภคินี ภาคินี
มาณวิกา มารศรี ยอดสร้อย ยาหยี ยุพยง ยุพเรศ ยุพดี ยุพา ยุพาน
ยุพิน ยุพาพาล ยุพาพิน ยุวดี เยาวมาลย์ เยาวเรศ เยาว์ลักษณ์ เยาวพา รมณี
ร้อยชั่ง วธู วนิดา วรดนู วรางคณา วิมล ศรี สดี สตี สตรี สมร สะคราญ
สายสมร สายสวาท สุดา เสาวภาคย์ สุนทรี อนงค์ อร อรไท อ่อนไท อ่อนไท้
อรนุช อังคณา อัมพา อิตถี อิสัตรี

ดอกไม้
กรรณิกา กุสุม โกสุม กุสุมาลย์ จราว จาว บุปผ บุปผา บุปผชาติ บุษบะ บุษบา
บุษบง บุษบัน บุหงัน บุหงา ผกา พบู พเยีย พวงมาลา มาลย์ มาลัย มาลา
มาลี สุมน สุมนา สุมาลี สุคันธชาติ สะบู ปสพ พันลอก กะบัง

ท้องฟ้า
คคนัมพร คคนางค์ คคนานต์ ทิฆัมพร นภ นภดล นภมณฑล นภา นภาลัย โพยม
โพยมาน เวหะ เวหา เวหาส เวหน เวหายส หาว อฆ อนิลบถ อัมพร ดาราบถ

น้ำ
กระสินธ์ กาสาร กุนที เกียน คงคา จาว ชทึง ฉทึง ชรทึง ชร ชล ชลชาติ
ชลธาร ชลธี ชลธิศ ชลาธาร ชลัมพุ ชลาลัย ชลาศัย ชเล ชโลทร โดย โตย ตระพัง
ตะพัง กระพัง ทก ธาร ธารา นที มหรณพ มหรรณพ ยมนา รหัท ละหาน
วหา วาปี วริ สาริน วารี วาหินี ศิรา สมุทร สริต สลิล สาคร สาคเรศ สินธุ
โสทก อรรณพ อุมพุ อุทก อุทกธาร อุทกธารา โอฆชล เนียร

พระจันทร์
แข โค จันทร์ จันทร จันทรพิมพ์ จันทรมณฑล เดือน ตโมนุท ตโมทร แถง
โทษากร โทษรมณ์ นิศากร นิศานาถ นิศาบดี นิศามณี นิศารัตน์ บุหลัน ปักษาธร
พิธุ มา มาส รชนีกร รัชนีกร วิธู ศศธร ศศพินทุ ศศลักษณ์ ศศิ ศศิน ศศี
ศศิธร ศศิมณฑล สวรรคบดี สุมา โสม อินทุ อุทุราชา สุมะ รัตติกร กลา กลาพิมพ์
กลาแถง มนทกานติ พิธุ สิตางศุ์

พระอาทิตย์
ตโมนุท ตะวัน ไถง ทินกร ทิพากร ทิวากร ประภากร พันแสง ภากร ภาณุ
ภาณุมาศ ภาสกร รพิ รพี รวิ รวี รังสิมันต์ รังสิมา รำไพ วรุณ สหัสรังสี สุริยะ
สุริยากร สุริยง สุริยา สุริเยนทร์ สุริเยศ สุริโย สุริยน สุริยัน สูร สูรยะ อักกะ
อังศุธร อังศุมาลี อาภากร อุษณรัศมี อุษณรูจี อุษณกร

เมือง
ธานิน ธานี ธานินทร์ นคร นครินทร์ นคเรศ บุระ ปุร บุรินทร์ บุรี บูรี ประเทศ
พารา กรุงไกร สรุก

โลก
โกกุ ฉมา ด้าว ธรณี ธรา ธราดล ธริษตรี ธาษตรี ธาตรี ปฐพี ปฐวี ปถพี
ปัถพี ปัถวี ผงอน ผไท ไผทโกรม พสุธา พสุธาดล พสุนธรา พสุมดี พิภพ ภพ
ภู ภูดล ภูมิ ภูริ ภูวะ ภูวดล ภูวนะ มหิ มหิดล เมทนี เมทินี นิมา โลกธาตุ
โลกย โลกัย วสุธา วสุนธรา วสุมดี หล้า อจลา อุรพี โกษ

นก
เขจร ทวิช บุหรง ปักษา ปักษี สกุณ สกุณี สุโนก ศาพก โศลาฏ วิหค วิหงค์
ทวิชาติ ทิช ทิชากร ปักษิณ พิหเคนทร์ ปักษวาหน ปักษคม พิหค

ช้าง
คชินทร์ คเชนทร์ หัสดี ดำรี ดำไร ดมไร ทนดี หัสดี หัสดินทร์ กรี กรินทร์
กเรนทร์ กุญชร คช คชา คชาธาร โคบุตร พลาย พัง นาค นาคินทร์ นาเคนทร์
มาตงค์ นรการ สาร หัตถี หัสดินทร์ ไอยรา ไอยราพต คชสาร สาง นาคศวร
ทันตี ทันติน พารณ พารณะ วารณ หัตถินี กรินี พังคา นาเคศ

ม้า
ตุรงค์ ตุรคะ มโนมัย สินธพ แสะ หัย อาชา อาชาไนย อัสสะ อัศวะ อัศวิน
อัสดร พาชี ดุรค ดุรงค์ ดุรงคี

เสือ
ขาล ตะโก ทวีปี พยัคฆ์ พยัคฆา พยัคฆี พยัคฆิน อชินี พาฬ ศารทูล ขลา

วัว
วสภ พฤษภ พลิพัท ฤษภ วัตสดร อุสภ อุสุภ คาวี เคา ฉลู

ควาย
มหิงส์ มหิษ ลุลาย กาสร กระบือ มหิงสา

ลิง
ทุโมน พลีมุข ชรโมล วานร พานร วานรินทร์ พานรินทร์ พานเรศ กระบี่ กบินทร์
กเบนทร์ กบิล มักฏะ วอก สวา ปลวังค (อ่านปะละวังคะ)

สวรรค์
สรวง สันรวง สุคติ สุรบถ สุราลัย สุรโลก สัค สัคคะ ไกวัล ไกพัล ทิพ ไตรทิพ
จาตุมหาราชิก ดางดึงส์ ยามะ ดุสิต นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตดี วยัมหะ โสฬส
กระยาหงัน ลางงิด ไทวะ สุขาวดี ศักรภพน์

พระนารายณ์
พระวิษณุ ตรีโลเกศ จัตุรภุช จักรปราณี สังขกร หริ หริรักษ์ พระทรงครุธ พระทรงสุบรรณ
พระทรงสังข์ รามราช วาสุเทพ พระกฤษณ์ วิณหุ

พระอินทร์
มัฆวา มัฆวาน มฆวัน ตรีเนตร มหินท์ มเหนท์ วชิร วิชราวุธ วชิรปราณี
วชิรหัตถ์ วัชรี วัชรินทร์ วัชรเรนทร์ วาสพ ศักร ศักรินทร์ ศักเรนทร์ สักกะ
สุชัมบดี สุรบดี สหัสนัยน์ สหัสเนตร สุรินทร์ สุเรนทร์ โกสีย์ โกสินทร์ อมรบดี
อมรราช อมรินทร์ อมเรศ เทพบดี เพชรายุธ พันตา พันเนตร วัชรพาหะ

พระอิศวร
ศุลี ศูลี ศูลิน ศังกร ปรเมศวร์ สยมภู จอมไตร ศิวะ มหาเทพ เทพาธิบดี
ตรีโลกนารถ ตรีโลจน์ มเหศ มเหศวร ภูตบดี ภูเตศวร ธราธร ธราธาร พระทรงโค
หร (อ่าน หะระ)

พระพรหม
ธาดา จัตรุพักตร์ ปรเมษฐ์ ประชานาถ กมลาสน์ กมเลศ กัมลาศ สหัมบดี สุรเชษฐ์
หงสรถ กำมลาศน์ ขุนแผน พระทรงหงส์

เทวดา
เทพ เทว เทวัญ เทเวศร์ เทพบุตร เทพยดา เทพยุดา เทพาดิเทพ เทวินทร์
เทพินทร์ สุรารักษ์ อดิเทพ สุร อมร อมรา อำมร แมน สุธาสินี สุธาสี
อสัญแดหวา แถน มรุ นิรชร (อ่านนิระชอน)

นางฟ้า
เทวี เทพธิดา สุรางค์ สุรางคนางค์ สุรางคนา รัมภา อัปสร อัจฉรา นิรชรา

ยักษ์
ยักษา ยักษี ยักษิณี ยักข์ ยักขินี รักขสะ รากษส รากโษส อสุร อสูร อสุรา
อสุรินทร์ อสุรี อสุเรนทร์ อสุเรศ ราพณ์ ราพณาสูร รามสูร แทตย์ กุมภัณฑ์

ทองคำ
โสม เหม จารุ อุไร กาญจน กาญจนา สุพรรณ สุวรรณ สุวรรณา สุวรรณี
จามีกร หิรัณย์ หาดก หาตก มาศ ริน ชาตรูป ชมพูนุท ชามพูนุท กนก ไร สิงคี
โสณ มหาธาตุ

เงิน
หิรัญ ไหรณ ปรัก รชตะ สัชฌะ สัชฌุ งึน เงือน

ดอกบัว
บุณฑริก ปทุม สัตตบุษย์ บุษบัน นิลุบล นิลปัทม์ จงกล ประวาลปัทม์ สัตตบงกช
โกมุท โกกนุท ไกรพ บุษกร ปัทม ปัทมา อินทีวร อัมพุช บงกช อรพินท์
สัตตบรรณ อุบล จงกลนี กมล โกเมศ โกมล กรกช สโรช สาโรช นลิน นลินี
กช กมุท กระมุช วาริช ชาตบุษย์ ตาราไต วารีช ลินจง โบกขร สฤก อุปบล
นีรช (อ่าน นีระชะ)

ป่า
อรัญ อารัญ อารัณย์ อรัณย์ อรัญญิก ชระงม วนวัน พนา พนาวัน พนาลี
พนาลัย พนาวา พนาเวศน์ พนาราม พนาดร พนันดร พนัส พนัสบดี พนาสณฑ์
พนาสัณฑ์ ไพรสณฑ์ ไพรสัณฑ์ พงไพร พงพี ไพรศรี พนาศรี ไพรวัณ ไพรระหง
พนอง เถื่อน กานน ครึมครุ ดงดาน ชัฏ อฏวี (อ่าน อะตะวี)

ภูเขา
พนม พนอม ภู ภูผา คิริ คีรี กันทรากร บรรพต บรรพตา บรรพตชาล
บรรพตมาลา มหิธร มเหยงค์ ศิขร ศิขริน ศิขรี ศิงขร ศิงขริน ไศล สิขรี สิขเรศ
สิงขร สิงค์ เสล เสสา

ปลา
มีน มัจฉะ มัจฉา มัจฉาชาติ มัตสยะ มัตสยา มัศยา วาริช วลัช นีรจร กะรัง

        คำเอก คำโท คำเอกโท ในโคลงสี่สุภาพ (ดูที่รูปไม่คำนึงถึงระดับเสียง)

    

คำเอก (คำบังคับในโคลงสี่สุภาพ)คำที่มีรูปเอกได้แก่ ก่อน แต่ เนิ่น แม่ พ่อ ว่า ย่อม หว่าน ย่อม พร่ำ เพ่ง โก่ง ซ่อน เด่น    แน่ ท่าน ร่อน เก่ง จึ่ง ค่อน ซึ่ง สั่ง อ่อน ฯลฯ

คำตายที่แทนคำเอก

ได้แก่

    เกิด เลิศ เทิด     เพราะ เสนาะ เสาะ เลาะ

    ยาก พราก จาก มาก พากย์     สัตย์ วัด นัด วัฒน์ ทัด ขัด จัด

    นาจ พาส ศษสตร์ มาด นาจ ทาส ราช มาตร     พูด ทูต สูตร

    พจน์ รส สด อด จรด บท ขด ประณต รันทด     เกียรต เสียด เบียด เลียด

    สุทธิ วุฒิ นุช ฉุด     เวช เหตุ วิทย์ มิตร ศิษย์ นิจ อรรถ รอด พรอด

    แบบ แยบ แนบ    ลาภ หยาบ ราบ ทาบ สาบ     โลภ ฯลฯ

คำโท ในโคลงสี่สุภาพ คือคำที่มีรูปวรรณยุกต์โท

    ฟ้า ท้า หล้า ระย้า กล้า ข้า จ้า     ฟุ้ง ยุ้ง คุ้ง รุ้ง     ลี้ จี้ ชี้

    ฟ้อง ร้อง น้อง ห้อง ข้อง จ้อง ท้อง ป้อง ซ้อง ช้อง ต้อง ก้อง

    แล้ว แคล้ว แก้ว แจ้ว แพร้ว แป้ว     พร้อม ค้อม ย้อม น้อม อ้อม ป้อม

    ไล้ ไซร้ ให้ ไว้ ไร้ ใช้ ใบ้    ย้าย คล้าย ละม้าย

    เลี้ยว เสี้ยว เคี้ยว เปรี้ยว     เน้า เข้า เร้า เคล้า เฝ้า

คำเอกโท

    แต่งแต้ม ต่อต้าน เดือดร้อน ต่อสู้ แก่กล้า ร่ำร้อง เลิศล้วน แหล่งหล้า

    อกโอ้ ปกป้อง กู่ก้อง โยกย้าย เลิศหล้า เยี่ยงนี้ เล่ห์ร้าย คลุกเคล้า

    ย่างเยื้อง ดุ่มด้น ดับสิ้น เดือดร้อน แซ่ซ้อง กีดกั้น โอบเอื้อ จาบจ้วง

    จึ่งต้อง ติดหนี้ ยากไร้ คลั่งแค้น ขัดข้อง หม่นไหม้ อ่อนล้า ไขว่คว้า

 

        คำคู่ ในการแต่งกาพย์ฉบัง 16    

ต่อเติม เสริมส่ง อบอวล ชวนชม กระเทือนกระทบกระแทก ขัดขวางดั้นด้น ยุ่งยาก พึ่งพา พรั่งพรู สอดส่อง ห้องหอ คลอเคลีย วัดวา ตกแตกทรุดโทรม น้อมนบ ร่ำลา

ที่มา : http://www.st.ac.th/bhatips/gabpglon.html

กาพย์เห่เรือ

กาพย์เห่เรือ

ประวัติผู้แต่ง  เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐ์สุริยวงศ์  เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ  ทรงเป็นกวีเอกในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย  ถือได้ว่าเป็นยุคทองของวรรณคดีที่สำคัญอีกยุคหนึ่ง พระองค์ทรงมีความสามารถในเชิงอักษรศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง  โดยเฉพาะในด้านนิรุกติศาสตร์และฉันทศาสตร์  พระนิพนธ์ของพระองค์มีทั้งที่เกี่ยวกับทางโลกและทางธรรม  ทางธรรมได้แก่ นันโทปนันทสูตรคำหลวง  และพระมาลัยคำหลวง  ทางโลกได้แก่  กาพย์เห่เรือ  กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง  กาพย์ห่อโคลงนิราศพระบาท  กาพย์เห่เรื่องกากี เป็นต้น  ต่อมาได้บังเกิดเหตุอันน่าสลดใจ เมื่อเจ้าฟ้ากุ้งต้องพระราชอาญาว่าทรงลอบเป็นชู้กับเจ้าฟ่าสังวาลย์  จึงถูกลงทัณฑ์จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ทั้งสองพระองค์  และประดิษฐานพระบรมอัฐิไว้ ณ วัดไชยวัฒนาราม

ดาวน์โหลดเอกสาร :

ตำนานกาพย์เห่เรือ


รูปแบบ  แต่งเป็นกาพย์ห่อโคลง  มีโคลงสี่สุภาพนำ  1  บท  เรียกว่าเกริ่นเห่  และตามด้วยกาพย์ยานี 11  พรรณนาเนื้อความโดยไม่จำกัดจำนวนบท

จุดประสงค์ในการนิพนธ์  คือ  ใช้เห่เรือเล่นในคราวเสด็จฯ โดยทางชลมาครเพื่อไปนมัสการพระพุทธบาท  จังหวัดสระบุรี  การเห่เรือนอกจากจะเป็นที่สำราญพระราชอิริยาบถแล้ว  ยังเป็นการให้จังหวะแก่ฝีพายด้วย

เนื้อเรื่องย่อ  กล่าวถึงขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ซึ่งประกอบด้วยเรือพระที่นั่งกิ่ง  และเรือที่มีโขนเรือเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ คือ  เรือ ครุฑยุดนาค เรือไกรสรมุข เรือสมรรถชัย เรือสุวรรณหงษ์ เรือชัย เรือคชสีห์ เรือม้า เรือสิงห์ เรือนาคา (วาสุกรี) เรือมังกร เรือเลียงผา เรืออินทรี  เห่ ชมปลา กล่าวพรรณนาชมปลาต่าง ๆ มี ปลานวลจันทร์ คางเบือน ตะเพียน กระแห แก้มช้ำ ปลาทุก น้ำเงิน ปลากราย หางไก่ ปลาสร้อย เนื้ออ่อน ปลาเสือ แมลงภู่  หวีเกศ ชะแวง ชะวาด ปลาแปบ  เห่ ชมไม้ เมื่อเรือแล่นเลียบชายฝั่ง ชมไม้ที่เห็นตามชายฝั่ง ซึ่งมี นางแย้ม จำปา ประยงค์ พุดจีบ พิกุล สุกรม สายหยุด พุทธชาด บุนนาค เต็ง แต้ว แก้ว กาหลง มะลิวัลย์ ลำดวน  เห่ชมนก เมื่อใกล้พลบค่ำเห็นนกบินกลับรัง ก็ชมนกต่าง ๆ มี นกยูง สร้อยทอง สาลิกา นางนวล แก้ว ไก่ฟ้า แขกเต้า ดุเหว่า โนรี สัตวา และจบลงด้วยบทเห่ครวญ เป็นการคร่ำครวญ คิดถึงนางที่เป็นที่รักในยามค่ำคืน

การดำเนินเรื่อง  ดำเนินเรื่องได้สัมพันธ์กับเวลาใน 1 วัน  คือ  เช้าชมกระบวนเรือ  สายชมปลา  บ่ายชมไม้ เย็นชมนก กลางคืนเป็นบทครวญสวาท

การพรรณนาความ ตอนชมปลา ชมไม้ ชมนก มีการพรรณนาพาดพิงไปถึงหญิงที่รัก เข้าทำนองเดียวกับนิราศ

ประเพณีการเห่เรือ  มีมาแต่โบราณ แบ่งเป็น 2 ประเภท  คือ  เห่เรือหลวง  และเห่เรือเล่น  เห่เรือหลวงเป็นการเห่เรือในราชพิธี  ส่วนเห่เรือเล่น ใช้เห่ในเวลาเล่นเรือเที่ยวเตร่  กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร เดิมเป็นเห่เรือเล่น  ต่อมาในรัชกาลที่ 4  ใช้เป็นบทเห่เรือหลวง

ตำนานการเห่เรือ  สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่าการเห่เรือของไทยน่าจะได้แบบมาจากอินเดีย  แต่ของอินเดียใช้เป็นมนต์ในตำราไสยศาสตร์  บูชาพระราม  ของไทยใช้การเห่เรือบอกจังหวะฝีพายให้พายพร้อมกันเป็นการผ่อนแรงและให้ความเพลิดเพลิน

ลำนำการเห่เรือ  มี 3 ลำนำ คือ
1. ช้าละวะเห่  มาจาก  ช้าแลว่าเห่  เป็นการเห่ทำนองช้า  ใช้เห่เมื่อเรือเริ่มออกจากท่าและเมื่อพายเรือตามกระแสน้ำ
2. มูลเห่  เป็นการเห่ทำนองเร็ว ๆ ใช้เห่หลังจากช้าละวะเห่แล้ว ประมาณ 2-3 บท และใช้เห่เรือตอนเรือทวนน้ำ
3. สวะเห่  ใช้เห่เมื่อเรืจะเทียบท่า

คุณค่าที่ได้รับ
คุณค่าทางด้านวรรณศิลป์
1. รูปแบบสอดคล้องกับเนื้อหา
2. ดีเด่นทางด้านการพรรณนาให้เห็นภาพ และให้อารมณ์ความรู้สึกดี
3. ศิลปะการแต่งดี  มีกลวิธีพรรณนาโดยใช้การอุปมา  การเล่นคำ  การใช้คำที่แนะให้เห็นภาพ คำที่นำให้นึกถึงเสียง  คำที่แสดงอารมณ์ต่าง ๆ ได้ดี
คุณค่าทางด้านสังคม
1. สะท้อนภาพชีวิตของคนไทยในปลายกรุงศรีอยุธยาที่ใช้การสัญจรทางน้ำเป็นสำคัญ เนื่องจากประเทศไทยมีแม่น้ำลำคลองมาก
2. ให้ความรู้เกี่ยวกับขบวนพยุหยาตราทางชลมารค  และประเพณีการเห่เรือ
3. สะท้อนให้เห็นขนบธรรมเนียมประเพณี  ต่านิยม  และความเชื่อของคนไทย เช่น ค่านิยมเกี่ยวกับความงามของสตรีว่าจะต้องงามพร้อมทั้งรูปทรง  มารยาท  ยิ้มแย้มแจ่มใส  และพูดจาไพเราะ ความเชื่อเรื่องเวรกรรมตามหลักพระพุทธศาสนา เป็นต้น

บทเห่ชมเรือกระบวน

โคลง 
ปางเสด็จประเวศด้าว   ชลาไลย
ทรงรัตนพิมานไชย   กิ่งแก้ว
พรั่งพร้อมพวกพลไกร   แหนแห่
เรือกระบวนต้นแพร้ว   เพลิศพริ้งพายทอง ฯ

ช้าลวะเห่
พระเสด็จโดยแดนชล   ทรงเรือต้นงามเฉิดฉาย
กิ่งแก้วแพร้วพรรณราย   พายอ่อนหยับจับงามงอน
นาวาแน่นเป็นขนัด   ล้วนรูปสัตว์แสนยากร
เรือลิ่วปลิวธงสลอน   สาครสั่นครั้นครื้นฟอง

เรือครุฑยุดนาคหิ้ว   ลิ่วลอยมาพาผันผยอง
พลพายกรายพายทอง   ร้องโห่เห่โอ้เห่มา
สรมุขมุขสี่ด้าน   เพียงพิมานผ่านเมฆา
ม่านกรองทองรจนา   หลังคาแดงแย่งมังกร
สมรรถไชยไกรกาบแก้ว    แสงแวววับจับสาคร
เรียบเรียงเคียงคู่จร    ดังร่อนฟ้ามาแดนดิน

สุวรรณหงส์ทรงภู่ห้อย    งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์
เพียงหงส์ทรงพรหมินทร์    ลินลาศเลือนเตือนตาชม
เรือไชยไวว่องวิ่ง    รวดเร็วจริงยิ่งอย่างลม
เสียงเส้าเร้าระดม    ห่มท้ายเยิ่นเดินคู่กัน ฯ

มูละเห่ 
คชสีทีผาดเผ่น    ดูดังเป็นเห็นขบขัน
ราชสีห์ทียืนยัน   คั่นสองคู่ดูยิ่งยง
เรือม้าหน้ามุ่งน้ำ    แล่นเฉื่อยฉ่ำลำระหง
เพียงม้าอาชาทรง   องค์พระพายผายผันผยอง
เรือสิงห์วิ่งเผ่นโผน    โจนตามคลื่นฝืนฝาฟอง
ดูยิ่งสิงห์ลำพอง   เป็นแถวท่องล่องตามกัน
นาคาหน้าดังเป็น   ดูขะเม่นเห็นขบขัน
มังกรถอนพายพัน   ทันแข่งหน้าวาสุกรี
เลียงผาง่าเท้าโผน    เพียงโจนไปในวารี
นาวาหน้าอินทรีย์    ที่ปีกเหมือนเลื่อนลอยโพยม
ดนตรีมี่อึงอล    ก้องกาหลพลแห่โหม
โห่ฮึกครึกครื้นโครม   โสมนัสชื่นรื่นเริงพล
ค กรีฑาหมู่นาเวศ   จากนคเรศโดยสาชล
เหิมหื่นชื่นกระมล   ยลมัจฉาสารพันมี ฯ

สรุป

พระ เจ้าอยู่หัวบรมโกศเสด็จพระราชดำเนินโดยทางชลมารคได้ประทับบนเรือต้นในการ เดินทางภาพของเรือกิ่งนั้นดูแพรวพราวภาพการพายเรือนั้นก็ดูอ่อนไหว…….งด งามอย่างพร้อมเพรียงกัน

ขบวนเรือนั้นแน่นเป็นแถวเป็นแนวประกอบด้วยเรือที่หัวเรือเป็นรูป สัตว์หลายๆชนิดมองเห็นธงเด่นสะพรั่งมาแต่ไกลการเดินขบวนเรือทำให้เกิดเป็น คลื่นน้ำระลอก
เรือครุฑซึ่งบนเรือนั้นมีพลทหารกำลังพายเรืออย่างเป็นจังหวะพร้อมกับเปล่งเสียงโห่ร้อง
เรือสรมุขลอยมาเปรียบสวยงามดั่งพิมานบนสวรรค์ที่กำลังเคลื่อนที่ผ่านหมู่เมฆ เรือสรมุขตกแต่งไปด้วยม่านสีทอง หลังคาสีแดงมีลวดลายมังกรประดับอยู่
เรือสมรรถชัยซึ่งกำลังแล่นมาเทียบเคียงกับเรือสรมุขนั้นประกอบไปด้วยกาบแก้ว ขนาดใหญ่มีการเกิดแสงแวววับสะท้อนกับแม่น้ำมีความงดงามมากเหมือนดั่งว่า กำลังร่อนลงจากสวรรค์ฟากฟ้าลงสู่พื้นดิน
เรือสุวรรรณหงส์มีพู่ห้อยอย่างสวยงามล่องลอยอยู่บนสายน้ำเปรียบดั่งหงส์ที่เป็นพาหนะของพระพรหมเตือนตาให้ชม
เรือชัยนั้นแล่นด้วยความรวดเร็วเหมือนดั่งลม มีเสียงเส้าที่คอยให้จังหวะท้ายเรือให้แล่นไปเคียงคู่กันไปกับเรือพระที่นั่งลำอื่นๆ
เรือคชสีห์ที่กำลังแล่นไปนั้นดูแล้วชวนขบขันส่วนเรือราชสีห์ที่แล่นมาเคียงกันนั้นดูมั่นคงแข็งแรง
เรือม้านั้นกำลังมุ่งหน้าไปข้างหน้าซึ่งเรือม้าทีลักษณะที่สูงโปร่งเหมือนกับม้าทรงของพระพาย
เรือสิงห์ดูเหมือนกับว่ากำลังจะกระโจนลงสู่แม่น้ำและมีความลำพองใจนั้นก็แล่นป็นแถวตามๆกันมา
เรือนาคนั้นมองดูเหมือนกับมีชีวิตแล้วชวนขบขันกำลังจะถูกเรือมังกรแล่นตามมาทัน
เรือเลียงผานั้นทำท่าเหมือนกับกำลังจะกระโจนลงแม่น้ำ ส่วนเรืออินทรีย์ก็มีปีกที่เหมือนกับกำลังจะลอยไปในอากาศ
เสียงดนตรีนั้นดังลั่นมีเสียงก้องมาจากแตรงอน เสียงพลทหารโห่ร้องอย่างครึกครื้นทำให้เกิดความความรื่นเริงในหมู่พลทหาร

การเคลื่อนขบวนออกจากนั้นดูเข้มแข็งเป็นภาพที่ทำให้ชื่นอกชื่นใจมองดูเหมือนฝูงปลาที่มีมากมายในสายน้ำ

มีชนิดของเรือทั้งหมด ดังนี้

1.เรือสมรรถไชย                                                2.เรือไกรสรมุข

3.เรือสุวรรณหงส์                                               4.เรือเรือชัย

5.เรือครุฑยุดนาค                                                6.เรือนาคา

7.เรือม้า                                                                8.เรือวาสุกรี

9.เรือคชสีห์                                                         10.เรือราชสีห์

11.เรือมังกร                                                        12.เรือเลียงผา

13.เรือนกอินทรี

บทเห่ชมปลา

ช้าลวะเห่

พิศพรรณปลาว่ายเคล้า    คิดถึงเจ้าเศร้าอารมณ์
มัศยายังรู้ชม    สมสาใจไม่พามา
นวลจันทร์เป็นนวลจริง    เจ้างามพริ้งยิ่งนวลปลา
คางเบือนเบือนหน้ามา    ไม่งามเท่าเจ้าเบือนชาย
เพียนทองงามดั่งทอง    ไม่เหมือนน้องห่มตาดพราย
กระแหแหนห่างชาย    ดังสายสวาทคลาดจากสม

ทรงแปลง
แก้มช้ำช้ำใครต้อง    อันแก้มน้องช้ำเพราะชม
ปลาทุกทุกข์อกกรม    เหมือนทุกข์พี่ที่จากนาง ฯ

มูละเห่
น้ำเงินคือเงินยวง    ขาวพรายช่วงสีสำอาง
ไม่เทียบเปรียบโฉมนาง    งามเรืองเรื่อเนื้อสองสี
ปลากรายว่ายเคียงคู่    เคล้ากันอยู่ดูงามดี
แต่นางห่างเหินพี่    เห็นปลาเค้าเศร้าใจจร

ทรงแทรก 5 บท
หางไก่ว่ายแหวกว่าย    หางไก่คล้ายไม่มีหงอน
คิดอนงค์องค์เอวอร    ผมประบ่าอ่าเอี่ยมไร
ปลาสร้อยล่องลอยชล    ว่ายเวียนวนปนกันไป
เหมือนสร้อยทรงทรามวัย    ไม่เห็นเจ้าเศร้าบ่วาย
เนื้ออ่อนอ่อนแต่ชื่อ    เนื้อน้องฤาอ่อนทั้งกาย
ใครต้องข้องจิตต์ชาย   ไม่วายนึกตรึกตรึงทรวง
ปลาเสือเหลือที่ตา    เลื่อมแหลมกว่าปลาทั้งปวง
เหมือนตาสุดาดวง   ดูแหลมล้ำขำเพราะคม
แมลงภู่คู่เคียงว่าย    เห็นคล้ายคล้ายน่าเชยชม
คิดความยามเมื่อสม    สนิทเคล้าเจ้าเอวบาง
หวีเกศเพศชื่อปลา    คิดสุดาอ่าองค์นางี
หวีเกล้าเจ้าสระสาง    เส้นเกศสรวยรวยกลิ่นหอม
ชะแวงแฝงฝั่งแนบ    ชะวาดแอบแปลบปนปลอม
เหมือนพี่แนบแอบถนอม   จอมสวาทนาฎบังอร
พิศดูหมู่มัจฉา   ว่ายแหวกมาในสาคร
คนึงนุชสุดสายสมร   มาด้วยพื่จะดีใจ ฯ

 

สรุป

พันธุ์ปลาชนิดต่างๆว่ายวนเวียนอยู่ในสายน้ำทำให้มีจิตใจเศร้าหมอง ปลาทั้งหลายยังรู้ว่าไม่มีใจที่จะว่ายน้ำอยู่ในสายน้ำ พระ จันทร์ส่องแสงสว่างมีความงามราวกับเนื้อตัวของปลาซึ่งมีความงามราวกับเนื้อ ตัวของปลาซึ่งมีคางไม่โค้งมนเหมือนกับใบหน้ารูปร่างหน้าตาของผู้ชาย เปรียบดังทองไม่เหมือนกับน้องที่ห่มผ้าสไบ ปลากระแหซึ่งมีรูปร่างคล้ายปลาตะเพียนทอง ดั่งปลาที่ว่ายจากกันไปอย่างเหมาะสม ปลานั้นแก้มช้ำเหมือนมีคนมาจับต้องคล้ายกับว่า ปลาอันอมทุกข์ไว้มาก เหมือนกับการจากลาไปจากคนรัก สีน้ำเงิน เปรียบเสมือนสีขาวผ่องเป็นมันวาวของปลาไม่เหมือนความงามของหญิงสาว งามราวกับมีเนื้อตัวสองสี ปลากรายว่ายเวียนไปเคียงคู่กันแต่นางกลับตีจากพี่ไป เห็นปลาแล้วรู้สึกเศร้าใจ ปลาหางไก่ซึ่งเป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง แหวกว่ายอยู่ในน้ำ ปลาชนิดนี้ไม่มีหงอน คิดเพลงยาว รูปเอวอร มีผมประบ่าเอี่ยมอร ปลาสร้อยล่องลอยว่ายวนอยู่ในแม่น้ำเหมือนปลาสร้อยในวัยในเด็ก ไม่เห็นมีความโศกเศร้าในจิตใจ ปลาเนื้ออ่อนนั้นอ่อนแต่ชื่อ เนื้อน้องหรือจะอ่อนไปทั้งกาย ใครจับต้องก็ไม่นึกอายและช้ำใจปลาเสือตาแหลมกว่าปลาทั้งหลายเปรียบเสมือนดวงตา ซึ่งดูแหลมคม มีหอยแมลงภู่เวียนว่ายน่าชื่นชม คิดความต่างๆในยามเหมาะสม เจ้าที่มีหน้าที่สระสางเส้นผมต่างสละสลวยมีกลิ่นหอม ว่ายวนไปตามแนวฝั่งน้ำและมักจะมีปลาชะวาดว่ายปนอยู่ด้วยเหมือนกับพี่มาดูแลน้องอย่างทะนุถนอม พันธุ์ปลาต่างๆแหวกว่ายมาในแหล่งน้ำ เปรียบดังหญิงงามที่มาหาพี่จะรู้สึกดีใจ

บทแห่ชมปลา มีชนิดของปลา ได้แก่

1.ปลาแก้มช้ำ                                                       2.ปลาน้ำเงิน

3.ปลากราย                                                           4.ปลาหางไก่

5.ปลาสร้อย                                                          6.ปลาเนื้ออ่อน

7.ปลาเสือ                                                             8.ปลาหวีเกศ

9.ปลาแปบ                                                            10.ปลาชะวาด

11.ปลาชะแวง                                                     12.ปลานวลจันทร์

13.ปลาคางเบือน                                                 14.ปลากระแห

15.ปลาตะเพียน                                                                  16.ปลาเคล้าดำ

17.ปลานวลจันทร์

บทเห่ชมไม้

โคลง
พิศพรรณปลาว่ายเคล้า    คลึงกัน
ถวิลสุดาดวงจันทร์    แจ่มหน้า
มัศยายังพัวพัน    พิศวาส
ควรฤาพรากน้องช้า    ชวดเคล้าคลึงสม ฯ

โคลง
เรือชายชมมิ่งไม้    มีพรรณ
ริมท่าสาครคันธ์    กลิ่นเกลี้ยง
เพล็ดดอกออกแกมกัน    ชูช่อ
หอมหื่นรื่นรสเพี้ยง    กลิ่นเนื้อนวลนาง ฯ

ช้าลวะเห
เรือชายชมมิ่งไม้    ริมท่าไสวหลากหลายพรรณ
เพล็ดดอกออกแกมกัน    ส่งกลิ่นเกลี้ยงเพียงกลิ่นสมร
ชมดวงพวงนางแย้ม    บานแสล้มแย้มเกสร
คิดความยามบังอร    แย้มโอษฐ์ยิ้มพริ้มพรายงาม
จำปาหนาแน่นเนื่อง    คลี่กลีบเหลืองเรืองอร่าม
คิดคนึงถึงนงราม    ผิวเหลืองกว่าจำปาทอง
ประยงค์ทรงพวงห้อย    ระย้าย้อยห้อยพวงกรอง
เหมือนอุบะนวลลออง    เจ้าแขวนไว้ให้เรียมชม
พุดจีบกลีบแสล้ม    พิกุลแกมแซมสุกรม
หอมชวยรวยตามลม    เหมือนกลิ่นน้องต้องติดใจ
สาวหยุด พุดทชาด    บานเกลื่อนกลาดดาษดาไป
นึกน้องกรองมาไลย    วางให้พี่ข้างที่นอน ฯ

มูละเห
พิกุลบุนนาคบาน    กลิ่นหอมหวานซ่านขจร
แม้นนุชสุดสายสมร    เห็นจะวอนอ้อนพี่ชาย
เต็งแต้วแก้วกาหลง    บานบุษบงส่งกลิ่นอาย
หอมอยู่ไม่รู้หาย    คล้ายกลิ่นผ้าเจ้าตราตรู
มลิวันพันจิกจวง    ดอกเป็นพวงร่วงเรณู
หอมมาน่าเอ็นดู    ชูชื่นจิตต์คิดวนิดา
ลำดวนหวนหอมตระหลบ    กลิ่นอายอบสบนาสา
นึกถวิลกลิ่นบุหงา    รำไปเจ้าเศร้าถึงนาง
รวยรินกลิ่นรำเพย    คิดพี่เชยเคยกลิ่นปราง
นั่งแนบแอบเอวบาง    ห่อนแหห่างว่างเว้นวัน
ชมดวงพวงมาลี    ศรีเสาวภาคย์หลากหลายพรรณี
วนิดามาด้วยกัน    จะอ้อนพี่ชี้ชมเชย ฯ

 

สรุป

กระบวนเรือของเจ้าฟ้ากุ้งที่แล่นอยู่ในแม่น้ำต่างก็พากันชื่นชมพรรณไม้ที่กำลังพากันบานชูช่อและส่งกลิ่นหอมมาจากชายตลิ่งทั้งดอกนางแย้มที่บานแย้มเกสรออกมาพอพระองค์เห็นดังนั้นก็คิดถึงนางผู้เป็นที่รักยิ้มออกมาอย่างร่าเริงดอกจำปาที่ขึ้นอยู่หนาแน่นคลี่กลีบสีเหลืองอร่ามออกมาเมื่อพระองค์เห็นก็นึกถึงนางผู้เป็นที่รักที่มีผิวสีเหลืองนวลดอกประยงค์ที่ห้อยกันเป็นพวงดูแล้วก็เหมือนอุบะที่ห้อยพวงมาลัยที่นางทำแขวนไว้ให้ผู้ชายชื่นชมดอกพุดจีบกลีบบานก็มีดอกพิกุลและต้นสุกรมขึ้นแซมที่ดอกต่างส่งกลิ่นหอมเหมือนกับกลิ่นเนื้อของนางที่เคยอยู่ด้วยติดตามมา ดอกสาวหยุดกับดอกพุทธชาดที่บานอยู่เกลื่อนกลาดเต็มตลิ่งเมื่อพระองค์เห็นก็นึกถึงนางผู้เป็นที่รักที่เคยอยู่ด้วยกันร้อยมาลัยวางไว้ให้ที่ข้างหมอน ดอกพิกุลกับดอกบุนนาคที่บานส่งกลิ่นหอมหวาน ซาบซ่านเหมือนกับคำหวานที่นางผู้เป็นที่รักใช้อ้อนเวลาพูดด้วยต้นเต็งต้นแต้วต้นแก้วและดอกกาหลงต่างพากันบานส่งกลิ่นหอมอยู่ โดยไม่รู้หาย คล้ายกับกลิ่นเสื้อผ้าของนางผู้เป็นที่รักดอกมะลิวัลย์ดอกจิกดอกจวงพันกันเป็นพวงส่งกลิ่นหอมโชยมาชื่นใจยิ่งนักเมื่อได้กลิ่นก็ทำให้พระองค์คิดถึงนางผู้เป็นที่รักดอกลำดวนก็มีกลิ่นหอมตลบอบอวลเมื่อพระองค์ได้กลิ่นก็ทำให้มีความรู้สึกคิดถึงนางผู้เป็นที่รักอย่างเศร้าใจกลิ่นดอกรำเพยก็โชยมาเรื่อยๆทำให้คิดถึงเมื่อครั้งเคยเชยชมนางผู้เป็นที่รักอยู่ทุกวันไม่มีห่างเมื่อนั่งชมเหล่าดอกไม้ที่สวยงามหลากหลายพรรณก็ทำให้คิดไปว่าถ้าหากนางผู้เป็นที่รักมาด้วยก็คงจะอ้อนให้พระองค์นั้นชี้ให้ดูดอกไม้เหล่านั้นเหล่านี้เป็นแน่

พรรณนาถึงดอกไม้ ได้แก่

1.ดอกนางแย้ม                                                    2.ดอกจำปา

3.ดอกประยงค์                                                     4.ดอกพุดจีบ

5.ดอกพิกุล                                                           6.ดอกสุกรม

7.ดอกสายหยุด                                                    8.ดอกพุทธชาด

9.ดอกบุนนาค                                                     10.ดอกเต็ง

11.ดอกแต้ว                                                          12.ดอกแก้ว

13.ดอกกาหลง                                                    14.ดอกมะลิวัลย์

15.ดอกลำดวน

บทเห่ชมนก

รอนรอนสุริยโอ้    อัษฎงค์
เรื่อยเรื่อยลับเมรุลง    ค่ำแล้ว
รอนรอนจิตต์จำนง    นุชพี่ เพียงแม่
เรื่อยเรื่อยเรียมคอยแก้ว    คลับคล้ายเรียมเหลียว ฯ

ช้าลวะเห
เรื่อยเรื่อยมารอนรอน    ทิพากรจะตกต่ำ
สนธยาจะใกล้ค่ำ    คำนึงหน้าเจ้าตราตรู
เรื่อยเรื่อยมาเรียงเรียง    นกบินเฉียงไปทั้งหมู่
ตัวเดียวมาพลัดคู่   เหมือนพี่อยู่ผู้เดียวดาย
เห็นฝูงยูงรำฟ้อน    คิดบังอรร่อนรำกราย
สร้อยทองย่องเยื้องกราย    เหมือนสายสวาทนาดนวยจร
สาลิกามาตามคู่    ชมกันอยู่สู่สมสมร
แต่พี่นี้อาวรณ์    ห่อนเห็นเจ้าเศร้าใจครวญ
นางนวลนวลน่ารัก    ไม่นวลพักตร์เหมือนทรามสงวน
แก้วพี่นี้สุดนวล    ดั่งนางฟ้าหน้าใยยอง
นกแก้วแจ้วแจ่มเสียง    จับไม้เรียงเคียงคู่สอง
เหมือนพี่นี้ประคอง    รับขวัญน้องต้องมือเรา ฯ

มูละเห
ไก่ฟ้ามาตัวเดียว    เดินท่องเที่ยวเลี้ยวเหลี่ยมเขา
เหมือนพรากจากนงเยาว์    เปล่าใจเปลี่ยวเหลียวหานาง
แขกเต้าเคล้าคู่เคียง    เรียงจับไม้ไซ้ปีกหาง
เรียมคนึงถึงเอวบาง    เคยแนบข้างร้างแรมนาน
ดุเหว่าเจ่าจับร้อง    สนั่นก้องซ้องเสียงหวาน
ไพเราะเพราะกังวาล    ปานเสียงน้องร้องสั่งชาย
โนรีสีปานชาด    เหมือนช่างฉลาดวาดแต้มกาย
ไม่เท่าเจ้าโฉมฉาย    ห่มตาดพรายกรายกรมา
สัตวาน่าเอ็นดู    คอยหาคู่อยู่เอกา
เหมือนพี่ที่จากมา    ครวญหาเจ้าเศร้าเสียใจ
ปักษีมีหลายพรรณ    บ้างชมกันขันเพรียกไพร
ยิ่งฟังวังเวงใจ    ล้วนหลายหลากมากภาษา ฯ

 

สรุป

พระ อาทิตย์กำลังจะตกดิน เวลาจะใกล้ค่ำพี่ก็คิดถึงแต่หน้าน้อง นกบินสูงเฉียงไปทั้งฝูงแต่มีอยู่ตัวหนึ่งต้องพลัดจากคู่เหมือนกับพี่ที่ ต้องอยู่คนเดียว เห็นนกยูงแพนขนอยู่ก็นึกถึงน้องตอนท่าเคลื่อนไหวที่มีลีลาเหมือนกับไม้เถา ชนิดหนึ่งที่กำลังเยื้องกราย นกสาลิกามาตามคู่ชมกันเหมือนกับนางงามแต่พี่นี้ก็คิดกังวลถึงน้องแล้วเศร้า ใจ นกนางนวลงามผุดผ่องแต่หน้านั้นงามผุดผ่องเหมือนกับหน้าน้องที่งามผุดผ่อง เหมือนกับนางฟ้าที่หน้าผุดผ่องเป็นยองใย นกแก้วเสียงแจ่มแจ้วอยู่บนต้นไม้เคียงคู่กันเหมือนกับพี่นั้นประคองและรับ ขวัญน้องต้องมือเบา ไก่ฟ้ามาตัวเดียวเดินท่องเยวอยู่ตามเขาเ หมือนพี่พรากจากน้องที่เป็นที่รักพี่นั้นก็รู้สึกเปล่าเปลี่ยวใจคิดถึงน้อง นกแขกเต้าอยู่กันเป็นคู่อยู่บนต้นไม้ไซ้ปีกไซ้หางให้กัน พี่นั้นก็คิดถึงตอนที่พี่นั้นได้กอดน้องแบบแนบชิดเป็นเวลานาน นกดุเหว่าก็ร้องกันเสียงหวานสนั่นก้องไพเราะกังวานปานเสียงน้องที่พูดกับพี่ นกโนรีสีปานชาดนั้นมีลวดลายที่สวยงามแต่ก็สวยไม่เท่าน้องที่ห่มตาด(ชื่อผ้า ชนิดหนึ่ง ทอด้วยไหมควบกับเงินแล่งหรือทองแล่ง)ที่สวยงามมาหาพี่ นกสัตวาน่าเอ็นดูคอยหาคู่อยู่ทุกเวลาเหมือนพี่นั้นที่ต้องจากน้องมา พี่ก็คิดถึงน้องจึงเศร้าเสียใจ นกปักษีนั้นมีหลายพรรณ ต่างก็ชมกันขันเสียงในป่า พิ่ยิ่งฟังก็รู้สึกวังเวงใจด้วยความหลายหลากมากภาษาที่ทำให้พี่นั้นเศร้าใจ

ได้พูดถึงชนิดของนกได้แก่

1. นกยูง นกขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ขนงามเป็นสีเลื่อม ขนเป็นแวว
2. สร้อยทอง นกที่มีคอเป็นสีต่าง ๆ
3. สาลิกา นกจำพวกนกเอี้ยง หัวสีดำ ตัวสีน้ำตาลแกมดำ หนังของตาจัดเหลือง
4. นางนวล ชื่อนกกินปลาชนิดหนึ่ง อยู่ตามชายหาด
5. แก้ว ชื่อนกขนเขียว ปากแดงและงุ้ม มีหลายชนิด
6. ไก่ฟ้า เป็นนกสีสวยงามชอบอยู่เป็นฝูงอย่างไก่บ้าน ตัวขนาดไก่แจ้ บินเก่งมาก
7. แขกเต้า เป็นนกในตระกูลนกแก้ว แต่ตัวเล็กกว่า
8. ดุเหว่า ตัวสีดำ เล็กกว่ากาเล็กน้อย ร้องไพเราะ มักจะเรียกกันว่า กาเหว่า
9. โนรี เป็นนกจำพวกนกแก้ว โดยมากมีขนเป็นสีแดงล้วน  บางชนิดมีสีอื่นแซม เรียกเบญจพรรณ
10. สัตวนกใน เป็นนกจำพวกนกแก้ว ตัวโต สีเขียวเกือบเป็นสีคราม

บทเห่ครวญ

โคลง

เสียงสรวลระรี่นี้                         เสียงใด

เสียงนุชพี่ฤาใคร                                   ใคร่รู้

เสียงสรวลเสียงทรามวัย                         นุชพี่ มาแม่

เสียงบังอรสมรผู้                                    อื่นนั้นฤามี

กาพย์

เสียงสรวลระรี่นี้                              เสียงแก้วพี่หรือเสียงใคร

เสียงสรวลเสียงทรามวัย                              สุดสายใจพี่ตามมา

ลมชวยรวยกลิ่นน้อง                        หอมเรื่อยต้องคลองนาสา

เคลือบเคล้นเห็นคล้ายมา                            เหลียวหาเจ้าเปล่าวังเวง

ยามสองฆ้องยามย่ำ                         ทุกคืนค่ำย่ำอกเอง

เสียงปี่มีครวญเครง                                      เหมือนเรียมคร่ำร่ำครวญนาน

ล่วงสามยามไปแล้ว                         จนไก่แก้วแว่วขันขาน

ม่อยหลับกลับบันดาล                                   ฝันเห็นน้องต้องติดตา

เพรางายวานเสพรส                         แสนกำสรดอดโอชา

อิ่มทุกข์อิ่มชลนา                                         อิ่มโศกาหน้านองชล

เวรามาทันแล้ว                                จึงจำแคล้วแก้วโกมล

ให้แค้นแสนสุดทน                                       ทุกข์ถึงเจ้าเศร้าเสียดาย

งามทรงวงดั่งวาด                             งามมารยาทนาดกรกราย

งามพริ้มยิ้มแย้มพราย                                    งามคำหวานลานใจถวิล

แต่เช้าเท่าถึงเย็น                              กล้ำกลืนเข็ญเป็นอาจิณ

ชายใดในแผ่นดิน                                          ไม่เหมือนพี่ที่ตรอมใจ

โคลง

เรียมทนทุกข์แต่เช้า                             ถึงเย็น

มาสู่สุขคืนเข็ญ                                               หม่นไหม้

ชายใดจากสมรเป็น                                          ทุกข์เท่า เรียมเลย

จากคู่วันเดียวได้                                             ทุกข์ปิ้มปานปี

 

สรุป

เสียงหัวเราะนี้เป็นของใคร เสียงน้องของพี่หรือใคร พี่ไม่รู้ เสียงหัวเราะของน้องเหมือนตามพี่มาเสียงของนางอันเป็นที่รักนั้นเพราะจนหาคนอื่นเทียบไม่ได้

เสียงหัวเราะนี้เสียงแก้วใจพี่หรือเสียงใคร เสียงหัวเราะเสียงของนางผู้เป็น ยอดรักเหมือนพี่ตามมา ลมแผ่ว ๆ ช่วยพัดกลิ่นหอมของน้องเรื่อยมาจนถึงจมูก เหลือบมองเห็นเหมือนเจ้ามาพอมอง หากลับไม่เห็น ตีสองเสียงฆ้องดังบอกเวลา ทุก คืนพี่อยู่ตัวคนเดียว มีเสียงปี่บรรเลงเหมือนเสียงของน้องหญิงที่พี่คิด ถึง ยามตีสามใกล้เช้าจนไก่ขัน เมื่อหลับไปพี่กลับฝันเห็นน้องติดตาอยู่ ในฝันของพี่ เวลาเช้าจนถึงเย็นพี่นี้ไม่วายเศร้าหมอง อดกินของรสอร่อย เพราะอิ่มไปด้วยความทุกข์อิ่มไปด้วยน้ำตา อิ่มความเศร้าโศกน้ำตานองหน้า เวร กรรมตามมาทันแล้ว พี่จึงต้องจากเจ้าที่พี่รัก คิดแล้วก็แค้นใจนัก ที่ต้องจากน้องมาเป็นทุกข์เศร้าเสียดายยิ่งนัก นางเปรียบเป็นดั่งภาพวาด งามทั้งมารยาท รอยยิ้มรวมทั้งคำพูดของน้อง ไม่มีชายใดที่จะมาตรอมใจเหมือนพี่     ที่เฝ้าแต่คิดถึงน้อง

พี่เฝ้าแต่ทนทุกข์ตั้งแต่เช้าถึงเย็น ทุกวันคืนเหมือนตกนรกทั้งเป็น ผู้ชาย คนไหนถ้าได้จากหญิงอันเป็นที่รักก็ต้องทุกข์เหมือนพี่ จากกันแค่วัน เดียว แต่ทุกข์เหมือนจากกันนานนับปี

ไตรภูมิพระร่วง

หนังสือไตรภูมิพระร่วงเป็นหนังสือสำคัญสมัยกรุงสุโขทัยที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน    เป็นวรรณคดีทางศาสนาที่มีอิทธิพลต่อคนไทยมาก  เดิมเรียกว่า “เตภูมิกถา หรือไตรภูมิกถา”  ในการพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ  พ.ศ. 2455  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเปลี่ยนชื่อหนังสือเล่มนี้เป็น “ไตรภูมิพระร่วง”      เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระร่วงเจ้าแห่งกรุงสุโขทัยให้คู่กับหนังสือสุภาษิตพระร่วง

ผู้แต่ง           พระมหาธรรมราชาที่  1  (พระยาลิไท)

ความมุ่งหมาย            1.      เพื่อเทศนาโปรดพระมารดา  เป็นการเจริญธรรมความกตัญญู
2.     เพื่อใช้สั่งสอนประชาชนให้มีคุณธรรมและช่วยกันดำรงพระพุทธศาสนาไว้ให้ยั่งยืน

ลักษณะการแต่ง             แต่งเป็นร้อยแก้ว

เนื้อหาสาระ       เริ่มต้นด้วยคาถานมัสการเป็นภาษาบาลี  ต่อไปมีบานแพนกบอกชื่อผู้แต่ง  วันเดือนปีที่แต่ง  บอกชื่อคัมภีร์   บอกความมุ่งหมายในการแต่ง  แล้วจึงกล่าวถึงภูมิทั้ง  3  ว่า  “อันว่าสัตว์ทั้งหลายย่อมจะเวียนวนไปมาและเกิดในภูมิ  3  อันนี้แล”  คำว่า  “ไตรภูมิ”  แปลว่า  สามแดน  คือ  กามภูมิ  ,  รูปภูมิ  ,  และอรูปภูมิ   ทั้ง  3  ภูมิแบ่งออกเป็น  8  กันฑ์  คือ
1. กามภูมิ  มี  6  กัณฑ์  คือ
1.1. นรกภูมิ  เป็นแดนนรก
1.2. ดิรัจฉานภูมิ  เป็นแดนของสัตว์ที่เจริญตามขวาง
1.3. เปตภูมิ  เป็นแดนของเปรตที่เคยเป็นมนุษย์และทำความชั่วเกิดเป็นเปรต
1.4. อสุรกายภูมิ  เป็นแดนของยักษ์มารหรือผีที่หลอกมนุษย์ให้ตกใจกลัว
1.5. มนุสสภูมิ  เป็นแดนของมนุษย์
1.6. ฉกามาพจร  เป็นแดนของเทวดาที่ยังเกี่ยวข้องในกาม  มี  6  ชั้น  คือ   จาตุมหาราชิก  ,   ดาวดึงส์  ,  ยามะ   , ดุสิต  , นิมมานรดี  , ปรนิมมิตวสวดี
2.      รูปภูมิ มี  1  กัณฑ์   คือ  รูปาวจรภูมิ  เป็นแดนของพรหมที่มีรูป  แบ่งเป็น  16  ชั้น     ตามภูมิธรรม  เรียกว่า  โสฬสพรหม
3.      อรูปภูมิ        มี  1  กัณฑ์  คือ  อรูปาวจรภูมิ  เป็นแดนของพรหมไม่มีรูป  มีแต่จิต แบ่งเป็น4ชั้น

คุณค่า    

                1.      ด้านศาสนา       ไตรภูมิพระร่วงเป็นหนังสืออ่านยาก     ตั้งแต่สมัยสุโขทัยตลอดมาจนกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น    ผู้ที่นำไตรภูมิไปสู่ชาวบ้านก็คือพระสงฆ์   และนำไปโดยการเทศนา   ทำภาษายากให้เป็นภาษาง่ายที่ชาวบ้านเข้าใจได้    โดยเฉพาะเนื้อเรื่องนั้นมีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับบาปบุญคุณโทษ   การเกิดการตาย   เกี่ยวกับโลกทั้งสาม  (ไตรภูมิ)   ซึ่งทำให้คนสมัยกรุงสุโขทัยเข้าใจเรื่องชีวิตของตนเองว่าเกิดมาอย่างไร  ตายแล้วไปไหน  โลกที่อยู่ปัจจุบันและโลกหน้าเป็นอย่างไร

                2.      ด้านภาษา        สำนวนโวหารในไตรภูมิ    โดยเฉพาะพรรณนาโวหารนั้นประณีตละเอียดลออเป็นอย่างยิ่ง     จนทำให้นึกเห็นสมจริง  ให้เห็นสภาพอันน่าสยองขวัญของนรก   สภาพอันรุ่งเรืองบรมสุขของสวรรค์   จนจิตรกรอาจถ่ายบทพรรณนานั้นลงเป็นภาพได้  เราจะเห็นภาพฝาผนังของวิหารและโบสถ์ตามวัดต่างๆ ไป (นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงทางภาษาระหว่างสมัยพ่อขุนรามคำแหงกับสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท)

                3.      ด้านสังคม       มุ่งใช้คุณธรรมความดีเป็นพื้นฐานการสร้างสรรค์ความสุขในสังคม

                4.      ด้านอิทธิพลต่อกวียุคหลังกวียุคหลังได้ใช้ไตรภูมินี้เป็นแนวพรรณนาป่าหิมพานต์  เขาพระสุเมรุ   วิมานพระอินทร์  ส่วนจิตรกรได้อาศัยความคิด  ความเชื่อในไตรภูมิ  เป็นแนวการสร้างสรรค์งานศิลปะ

        รวมความว่า   ไตรภูมิพระร่วงเป็นหนังสือเก่าชั้นวรรณคดีที่มีอิทธิพลต่อความคิดอ่านของคนไทยในเรื่องบาปบุญคุณโทษ    ในด้านจิตรกรรมฝาผนังโบสถ์ต่างๆ   และวรรณคดีตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงสมัยปัจจุบัน      หนังสือนี้แสดงให้เห็นพระปรีชาสามารถของพระยาลิไทในด้านศาสนา    และใช้จริยธรรมในการบริหารบ้านเมือง    และยังแสดงให้เห็นพระสติปัญญา    ตลอดจนให้แนวคิดในเชิงปรัชญา  สังคม  และค่านิยมของสังคมเป็นอย่างดียิ่ง

ตัวอย่างในไตรภูมิพระร่วง   

        ผลแห่งการทำบาป
“คนผู้ใดกล่าวคำร้ายแก่สมณพราหมณ์ผู้มีศิลและพ่อแม่และผู้เฒ่าผู้แก่ครูปาทยาย  คนผู้นั้นตาย  ไปเกิดในนรกอันได้ขื่อว่า  สุนักขนรกนั้นแล  ในสุนักขนรกนั้นมีหมา  4  สิ่ง  หมาจำพวกหนึ่งนั้นขาว  หมาจำพวกหนึ่งนั้นแดง  หมาจำพวกหนึ่งนั้นดำ  หมาจำพวกหนึ่งนั้นเหลือง  และตัวหมาผู้นั้นใหญ่เท่าช้างสารทุกตัว  ฝูงแร้งแลกาอันอยู่ในนรกนั้นใหญ่เท่าเกวียนทุกตัว  ปากแร้งแลกาแลตีนนั่น  เทียรย่อมเหล็กแดงลุกเป็นเปลวไฟอยู่มิได้เหือดสักคาบ  แร้งแลกาหมาฝูงนั้นเทียรย่อมจิกแหกหัวอกขบตอดคนทั้งหลายในนรกด้วยบาปกรรมของเขานั้น  แลมิให้เขาอยู่สบายแลให้เขาเจ็บปวดสาหัส  ได้เวทนาพ้นประมาณ  ทนอยู่ในนรกอันชื่อสุนักขนรกนั้นแล”

ที่มาของเนื้อหา :
1.      ประวัติวรรณคดี 1 ( ท 031 ) ของ รศ.บรรเทา  กิตติศักดิ์/อ.กรรณิการ์  กิตติศักดิ์ : หน้า 27 – 28 : สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
2.      ประวัติวรรณคดี  1 ( ท 031 )  ของ อ.เปลื้อง ณ นคร/ อ.ปราณี  บุญชุ่ม : หน้า23 – 24  : สำนักพิพม์อักษรเจริญทัศน์. 

ที่มา : http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/trang/rootjarin_ch/sec04p03.html